ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๕๓๐-๕๓๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

ความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรมเพื่อความ เป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้วได้ ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พราหมณ์ธัมมิกะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ ครูทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก หรือไม่” ท่านพระธรรมิกกราบทูลว่า “พึงประสพ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า พึงบริภาษครูทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญ เป็นอันมาก ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า บริภาษบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑- คนเดียว ผู้นั้นย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญมากกว่าบุคคลผู้ด่า บริภาษครูทั้ง ๖ นั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวว่าการขุดโค่นคุณความดีของตนเช่นนี้ จะมี ภายนอกศาสนานี้ เหมือนการด่า การบริภาษเพื่อนพรหมจารี พราหมณ์ธัมมิกะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเรา จักไม่ประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจารีผู้เสมอตน’ พราหมณ์ธัมมิกะ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล” ครูทั้ง ๖ ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต คือครูสุเนตตะ ครูมูคปักขะ ครูอรเนมิ @เชิงอรรถ : @ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันซึ่งมีชื่อว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ’ บ้าง @‘ผู้มาสู่พระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ’ บ้าง @‘ผู้เข้าถึงกระแสธรรม’ บ้าง ‘ผู้มีปัญญาแทงตลอด’ บ้าง ‘ผู้ยืนจรดประตูอมตะ’ บ้าง @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

ครูกุททาลกะ ครูหัตถิปาลมาณพ และครูโชติปาละผู้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต ของพระราชา ๗ พระองค์ เป็นเจ้าของโค ท่านเหล่านั้น เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๑- มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว นรชนใด มีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว บริภาษท่านผู้เป็นฤๅษีทั้งหลายภายนอกศาสนา ผู้ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่นแล้ว นรชนนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ส่วนนรชนใดมีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว บริภาษภิกษุผู้เป็นพุทธสาวกมีทิฏฐิสมบูรณ์รูปเดียว นรชนนี้ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญ มากกว่าผู้บริภาษครูเหล่านั้น นรชนไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฏฐิ๒- ได้แล้ว เราเรียกบุคคลผู้มีอินทรีย์ ๕ ที่ยังอ่อน @เชิงอรรถ : @ กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔) @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๓๐-๕๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=530&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=14975 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=14975#p530 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๓๐-๕๓๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]