ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๖๐-๖๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สุมนวรรค ๙. ปุตตสูตร

ต้นไม้ใหญ่ มีกิ่ง ใบ และผล มีลำต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง สมบูรณ์ด้วยผล ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้นซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ ให้เกิดสุข ผู้ต้องการความร่มเย็น ย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา ผู้ต้องการผล ย่อมบริโภคผลได้ ฉันใด ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ เป็นนาบุญของโลก ย่อมคบหาบุคคลผู้มีศรัทธาซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล ประพฤติถ่อมตน ไม่กระด้าง๑- สุภาพ น่าชื่นชม อ่อนโยน มั่นคง ฉันนั้น ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
สัทธสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปุตตสูตร
ว่าด้วยบุตร
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนา บุตรผู้เกิดในตระกูล ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา ๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา @เชิงอรรถ : @ ไม่กระด้าง หมายถึงปราศจากความกระด้าง คือ โกธะ (ความโกรธ) และมานะ (ความถือตัว) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๘/๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สุมนวรรค ๙. ปุตตสูตร

๓. วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน ๔. บุตรจักปฏิบัติตนให้สมควรรับทรัพย์มรดกไว้ ๕. เมื่อเราทั้งสองตายไป บุตรจักทำบุญอุทิศให้ ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตรผู้ เกิดในตระกูล มารดาบิดาผู้ฉลาด เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร ด้วยหวังว่า ‘บุตรที่เราเลี้ยงแล้วจักเลี้ยงเรา จักช่วยทำกิจของเรา วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน จักปฏิบัติตนให้สมควรแก่การรับทรัพย์มรดก และเมื่อเราทั้งสองตายแล้วจักทำบุญอุทิศให้’ มารดาบิดาผู้ฉลาด เมื่อเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร เพราะฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล เมื่อระลึกถึงคุณท่านที่ทำไว้ต่อเราก่อน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญ
ปุตตสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๐-๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=60&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=1725 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=1725#p60 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๐-๖๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]