ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๑๙-๒๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๓. กุลสูตร

๓. กุลสูตร๑-
ว่าด้วยตระกูลที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปหาและควรเข้าไปหา
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคย เข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้ องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ตระกูล ๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ ๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ ๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ ๔. ปกปิดของที่มีอยู่ ๕. มีของมาก แต่ถวายน้อย ๖. มีของประณีต แต่ถวายของเศร้าหมอง ๗. ถวายโดยไม่เคารพ ไม่ถวายโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า ไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้ ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้ องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ตระกูล ๑. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ ๒. ไหว้ด้วยความเต็มใจ ๓. ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ ๔. ไม่ปกปิดของที่มีอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูนวกนิบาต ข้อ ๑๗ (กุลสูตร) หน้า ๔๖๕-๔๖๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๔. ปุคคลสูตร

๕. มีของมาก ก็ถวายมาก ๖. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต ๗. ถวายโดยเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า ไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้๑- เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต๒- ๒. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต๓- ๓. ท่านผู้เป็นกายสักขี๔- ๔. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ๕- @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๑๕๐/๙๑, ๓๓๒/๒๒๓, ม.ม. ๑๓/๑๘๒/๑๕๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๒๙, @อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๕/๑๔๘, ๒๐๘/๒๒๙-๒๓๑ @ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) หมายถึงท่านผู้หลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ @และหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค ได้แก่ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ @ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติ และสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ผู้ได้ @ปัญญาวิมุตติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) @ ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ มิได้สัมผัส @วิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ท่านผู้เป็นกายสักขี (ผู้เป็นพยานในนามกาย) หมายถึงท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะ @บางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ปฏิบัติ @เพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) หมายถึงท่านผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้องและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป @เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตที่มี @ปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๙-๒๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=19&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=456 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=456#p19 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙-๒๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]