ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. เมตตาวรรค ๕. ปฐมโลกธัมมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ไม่มุ่งลาภ ๒. ไม่มุ่งสักการะ ๓. ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔. รู้จักกาล ๕. รู้จักประมาณ ๖. สะอาด ๗. ไม่พูดมาก ๘. เป็นผู้ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทุติยอัปปิยสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม๑- ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็ หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ โลกธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. ยศ ๔. เสื่อมยศ @เชิงอรรถ : @ โลกธรรม หมายถึงสิ่งที่มีความแน่นอนสำหรับสัตว์โลก(องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๕/๒๕๓) @และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๗/๒๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. เมตตาวรรค ๕. ปฐมโลกธัมมสูตร

๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน ไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา๑- แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา อิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) ความยินดีหรือความยินร้าย ท่านขจัดปัดเป่า จนไม่มีอยู่ ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี๒- ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยถูกต้อง
ปฐมโลกธัมมสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๒/๔๙๐ @ ทางที่ปราศจากธุลี ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕/๒๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๐๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=202&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=5507 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=5507#p202 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]