ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๕. มลสูตร

๕. มลสูตร
ว่าด้วยมลทิน
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย มลทิน (ความมัวหมอง) ๘ ประการนี้ มลทิน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มนตร์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน ๒. เรือน๑- มีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน ๓. ผิวพรรณมีความเกียจคร้านเป็นมลทิน ๔. ผู้รักษามีความประมาทเป็นมลทิน ๕. สตรีมีความประพฤติชั่ว๒- เป็นมลทิน ๖. ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน ๗. บาปอกุศลธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ๘. มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้แล มนตร์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน ผิวพรรณมีความเกียจคร้านเป็นมลทิน ผู้รักษามีความประมาทเป็นมลทิน สตรีมีความประพฤติชั่วเป็นมลทิน @เชิงอรรถ : @ เรือน หมายถึงบุคคลผู้อยู่ครองเรือน (องฺ.อฏฐก.ฏีกา ๓/๑๕-๑๘/๒๗๙) @ ประพฤติชั่ว หมายถึงประพฤตินอกใจ (องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑๕-๑๘/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๖. ทูเตยยสูตร

ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน บาปธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา
มลสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทูเตยยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของทูต๑-
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้ ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. รู้จักฟัง ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้ ๓. ใฝ่ศึกษา ๔. ทรงจำได้ดี ๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด๒- ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรทำหน้าที่ทูตได้ ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้ @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๓๔๗/๒๐๘-๒๐๙, ขุ.ธ. ๒๕/๒๔๑-๒๔๓/๕๙ @ เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด หมายถึงเป็นผู้รู้ความหมายของสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๖/๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=241&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=6632 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=6632#p241 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]