ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๘. ทุติยพลสูตร

๗. ปฐมพลสูตร
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๑
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้ กำลัง ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลัง ๒. มาตุคามมีความโกรธเป็นกำลัง ๓. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง ๔. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง ๕. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ๖. บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ๗. คนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลัง ๘. สมณพราหมณ์มีขันติ๑- เป็นกำลัง ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้แล
ปฐมพลสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยพลสูตร๒-
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๒
[๒๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลัง๓- เท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว” @เชิงอรรถ : @ ขันติ ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๗/๒๔๘) @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๐/๒๐๔-๒๐๖ @ กำลัง ในที่นี้หมายถึงญาณพละ(กำลังแห่งญาณ) (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๘/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๘. ทุติยพลสูตร

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๘ ประการ จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ กำลังของภิกษุขีณาสพ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น สภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ๑- ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะ ของเราสิ้นแล้ว’ ๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็น ธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ ๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน วิเวก๒- ยินดียิ่งในเนกขัมมะ๓- ปราศจากเงื่อนธรรม๔- อันเป็นที่ตั้งแห่ง อาสวะโดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติ น้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจาก เงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลัง ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ @เชิงอรรถ : @ ปัญญาอันชอบ ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๘/๒๔๘) @ วิเวก หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๘/๒๔๘) และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๐/๒๐๔-๒๐๖ @ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๘/๒๔๘) @ ปราศจากเงื่อนธรรม ในที่นี้หมายถึงปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดติดหรือหมดตัณหาแล้ว @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๘/๒๔๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๘/๒๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๙. อักขณสูตร

๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็น กำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ ๕. อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ ๖. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ ๗. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ ๘. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความ สิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๘ ประการนี้แล จึงปฏิญญา ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
ทุติยพลสูตรที่ ๘ จบ
๙. อักขณสูตร
ว่าด้วยขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑-
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวว่า ‘ชาวโลกทำกิจในขณะ๒- ชาวโลกทำกิจในขณะ’ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะเลย ภิกษุทั้งหลาย กาลที่ไม่ใช่ ขณะไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้ กาล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๒/๒๓๓-๒๓๔ @ ทำกิจในขณะ หมายถึงทำกิจทั้งหลายในเมื่อมีโอกาส (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=272&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=7497 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=7497#p272 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]