ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๙. นิพพานสูตร

๙. นิพพานสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพาน
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควรแก่ของที่ เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะ และความ สิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขา จึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๑- ฯลฯ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึง @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๒๕ และเชิงอรรถที่ ๑-๔ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=28&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=704 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=704#p28 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]