ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๘๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็นธรรม ของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม’ อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม๑- ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม๒- ผู้พอใจใน ปปัญจธรรม’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘จักสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป จักบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิด จากสมาธิอยู่’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป จักเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว จักบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่’ อนุรทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความ ยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ เหมือนหีบใส่ผ้าของคหบดี หรือบุตรคหบดีเต็มไปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่างๆ ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ นิปปปัญจธรรม หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑) @ ปปัญจธรรม หมายถึงตัณหา มานะ และทิฏฐิ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๘๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=280&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=7735 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=7735#p280 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]