ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๑๐. นิททสวัตถุสูตร

เป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
นิพพานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. นิททสวัตถุสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ๑- (เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้ไม่มีอายุ ๑๐ ปี) ๗ ประการนี้ นิททสวัตถุ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๒- และได้ความรัก ในการสมาทานสิกขาต่อไป๓- ๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม๔- และได้ความรัก ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป @เชิงอรรถ : @ คำว่า นิททสวัตถุ นี้ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” แปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่ @พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลง เมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า @“นิททสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้ @หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียว โดยมี @เงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประาร ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ @ดู ข้อ ๔๒-๔๓ หน้า ๖๒-๖๖ ในเล่มนี้ประกอบด้วย (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๔-๑๖๕, @ที.ปา.อ. ๓/๓๓๑/๒๓๘) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๒๒ @ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาให้บริบูรณ์ และถูกต้อง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) @ ต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) @ การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความ @เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังนั้น คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” นี้จึงเป็นชื่อของวิปัสสนา (ความ @เห็นแจ้ง) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=29&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=736 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=736#p29 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]