ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๓๔-๓๓๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. โคตมีวรรค ๑. โคตมีสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม๑- ๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแลเป็นการอุปสมบท๒- ของเธอ คือ ๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ การต้อนรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม๓- แก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิด จนตลอดชีวิต ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถ และไปรับโอวาทจาก ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน ตลอดชีวิต ๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่นางสิกขมานา ที่ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๔๙/๓๒๒-๓๒๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๓/๓๑๕-๓๑๙ @ อุปสมบท ในที่นี้หมายถึงทั้งการบรรพชาและอุปสมบท (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๓) @ การกราบไหว้ หมายถึงการไม่มีมานะ(ความถือตัว) ก้มกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ การต้อนรับ หมาย @ถึงลุกจากที่นั่งแล้วลุกขึ้นยืนรับ การทำอัญชลีกรรม หมายถึงประนมมือทั้ง ๑๐ นิ้วไหว้ การทำสามีจิกรรม @หมายถึงทำสามีจิกรรมอันสมควรมีการปูลาดอาสนะ และการพัดให้เป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. โคตมีวรรค ๑. โคตมีสูตร

๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง ละเมิดจนตลอดชีวิต อานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ การรับครุธรรมนั้นแล เป็นการอุปสมบทของเธอ” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการนี้ในสำนักของพระ ผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมีถึงที่ประทับ แล้วกล่าวกับ พระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “พระนางโคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแล จักเป็นการอุปสมบทของพระองค์ คือ ๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ การต้อนรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิด จนตลอดชีวิต ฯลฯ ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึง ล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต พระนางโคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแล จักเป็นการอุปสมบทของพระองค์” พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ดิฉันก็จะรับ ครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือ ชายหนุ่มผู้ชอบแต่งกายเมื่อสรงน้ำดำเกล้าแล้ว ได้พวงดอกอุบล พวงดอกมะลิ หรือพวงดอกลำดวนแล้ว ก็ใช้มือทั้งสองประคองรับไว้เหนือศีรษะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. โคตมีวรรค ๑. โคตมีสูตร

ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว จะไม่ล่วงละเมิด จนตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้ามาตุคามจะไม่ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ พรหมจรรย์ก็จะดำรงอยู่ได้นาน สัทธรรม จะดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรม- วินัยที่ตถาคตประกาศไว้ บัดนี้ พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน ทั้งสัทธรรมจะ ดำรงอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี”๑- ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน เปรียบเหมือนตระกูลหนึ่งที่มีสตรีมาก มีบุรุษน้อย จะถูกโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายได้ง่าย ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน เปรียบเหมือนหนอนขยอก๒- ที่ลงในนาข้าวสาลีซึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้นาข้าวนั้น คงอยู่ได้ไม่นาน @เชิงอรรถ : @ ข้อความพระดำรัสนี้มีความหมายว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลาผ่านไป ๕๐๐ ปี @ก็จะไม่มีพระอรหันต์บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ในระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี @ก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไป @อีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี @ก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่า ปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัตติสัทธรรมก็จะดำรงอยู่ได้ @๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน (วิ.อ. ๓/๔๐๓/๔๐๐-๔๐๗, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๕) @ หนอนขยอก ในที่นี้หมายถึงแมลงเจาะกลางลำต้นข้าวแล้วทำให้รวงข้าวที่ออกมาไม่มีน้ำนม @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๓๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. โคตมีวรรค ๒. โอวาทสูตร

ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยซึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้ไร่อ้อยนั้นคงอยู่ได้ไม่นาน อานนท์ เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการไว้ เพื่อไม่ให้ภิกษุณีล่วงละเมิดจน ตลอดชีวิต เปรียบเหมือนคนกั้นทำนบที่สระใหญ่ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออก ฉะนั้น”
โคตมีสูตรที่ ๑ จบ
๒. โอวาทสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้จะสอนภิกษุณี
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ สงฆ์จึงควรสมมติ ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑- สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒- แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒ (ปัญญาสูตร) หน้า ๑๙๗ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มตามข้อที่อ้างในเชิงอรรถที่ ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๓๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๓๔-๓๓๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=334&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=9304 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=9304#p334 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓๔-๓๓๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]