ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๑๕-๔๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สติวรรค ๗. ปัตตนิกุชชนสูตร

และเมืองหลวง’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะ ใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น ๘. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอสลัดลาภสักการะ และการสรรเสริญนั้น ไม่ละทิ้งการหลีกเร้น ไม่ละทิ้งเสนาสนะอัน สงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่า ของภิกษุนั้น สมัยใด เราเดินทางไกล ไม่เห็นใครๆ ข้างหน้า หรือข้างหลัง สมัยนั้น เราย่อมมีความผาสุก โดยที่สุด แม้แต่การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ”
ยสสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปัตตนิกุชชนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการคว่ำบาตรและหงายบาตร
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงคว่ำบาตร๑- ต่ออุบาสกผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย ๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย ๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน ๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า @เชิงอรรถ : @ คว่ำบาตร ในที่นี้หมายถึงการสวดกรรมวาจาเพื่อไม่รับไทยธรรมของอุบาสกผู้ประพฤติผิดต่อสงฆ์ @มิใช่หมายถึงคว่ำปากบาตรลง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๘๗/๒๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สติวรรค ๘. อัปปสาทปเวทนียสูตร

๗. กล่าวติเตียนพระธรรม ๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงคว่ำบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงหงายบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย ๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย ๓. ไม่ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย ๔. ไม่ด่าไม่บริภาษภิกษุทั้งหลาย ๕. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน ๖. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า ๗. กล่าวสรรเสริญพระธรรม ๘. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงหงายบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
ปัตตนิกุชชนสูตรที่ ๗ จบ
๘. อัปปสาทปเวทนียสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ควรประกาศว่าไม่ควรเลื่อมใส
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความไม่เลื่อมใสต่อภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๑๕-๔๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=415&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=11601 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=11601#p415 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑๕-๔๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]