ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๔-๔๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๙. ทุติยปริหานิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๗. กิจที่สงฆ์จะต้องทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุผู้เป็นเสขะเห็นประจักษ์ในกิจ นั้นอย่างนี้ว่า ‘พระเถระผู้เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระมีอยู่ในสงฆ์ ท่าน เหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น’ จึงไม่ต้องขวนขวายด้วยตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ปฐมปริหานิสูตรที่ ๘ จบ
๙. ทุติยปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๒
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๒. ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๙. ทุติยปริหานิสูตร

๓. ไม่ศึกษาในอธิศีล๑- ๔. ไม่มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ๒- ๕. ฟังธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ ๖. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๗. ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน๓- ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๒. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม ๓. ศึกษาในอธิศีล ๔. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ ๕. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ ๖. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๗. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล @เชิงอรรถ : @ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘) @ ผู้เป็นเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้น @ไปและทรงจำพระปาติโมกข์ได้ @ผู้เป็นนวกะ หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยังต้อง @ถือนิสสัย @ผู้เป็นมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ (เทียบ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓) @ ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน หมายถึงให้เครื่องไทยธรรมแก่เดียรถีย์ก่อนแล้วจึงถวายแก่ภิกษุในภายหลัง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘) และดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๕/๒๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๔-๔๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=44&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=1179 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=1179#p44 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๔-๔๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]