ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สีหนาทวรรค ๗. กุลสูตร

๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน โลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง แห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ
๗. กุลสูตร๑-
ว่าด้วยตระกูล
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่ เคยเข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้ องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ตระกูล ๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ ๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ ๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ ๔. ปกปิดของที่มีอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดู สัตตกนิบาต ข้อ ๑๓ (กุลสูตร) หน้า ๑๙-๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๖๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สีหนาทวรรค ๗. กุลสูตร

๕. มีของมาก แต่ถวายน้อย ๖. มีของประณีต แต่ถวายของเศร้าหมอง ๗. ถวายโดยไม่เคารพ ไม่ถวายโดยเคารพ ๘. ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ๙. ไม่ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า ไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้ ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้ องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ตระกูล ๑. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ ๒. ไหว้ด้วยความเต็มใจ ๓. ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ ๔. ไม่ปกปิดของที่มีอยู่ ๕. มีของมาก ก็ถวายมาก ๖. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต ๗. ถวายโดยความเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ ๘. นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ๙. ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคย เข้าไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๖๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=465&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=13022 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=13022#p465 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]