ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๗๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สีหนาทวรรค ๑๐. เวลามสูตร

๑๐. เวลามสูตร
ว่าด้วยเวลามพราหมณ์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ท่านคหบดี ในตระกูลของท่านยังให้ทานอยู่หรือ” อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่ พระพุทธเจ้าข้า แต่ทานนั้นแลเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าวกับน้ำผักดอง” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม ถ้าให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ทาน ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง ให้ทานเหมือนจะทิ้ง๑- เป็นผู้ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทาน๒- ในตระกูลที่ทานนั้นๆ บังเกิดผล เขาไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้า อย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี และไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ๓- ๕ อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ก็ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรม ที่ตนได้กระทำโดยไม่เคารพ @เชิงอรรถ : @ ให้ทานเหมือนจะทิ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่ให้ทานอย่างต่อเนื่อง ให้ทานเหมือนต้องการจะทิ้ง @(องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๒๙๗) @ ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อกรรมและผลกรรมแต่ก็ให้ทาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๒๙๗) @ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่า คุณ เพราะมี @ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ ดุจคำว่า “อนฺตํ อนฺตคุณํ” แปลว่า “ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก” ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๗/๒๕๑, @ม.มู. ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. ๒๕/๓/๒, และดุจคำว่า “กยิรา มาลาคุเณ พหู” แปลว่า “ช่างดอกไม้พึง @ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก” ดู ขุ.ธ. ๒๕/๕๓/๒๖ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=470&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=13161 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=13161#p470 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๗๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]