ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๙-๕๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๑. อัปปมาทคารวสูตร

๔. เทวตาวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดา
๑. อัปปมาทคารวสูตร
ว่าด้วยความเคารพในความไม่ประมาท
[๓๒] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑- เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง รัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท ๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร๒- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ” @เชิงอรรถ : @ ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม (ยามแรก) กำหนดเวลา ๔ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๑๘ นาฬิกา ถึง ๒๒ @นาฬิกาแห่งราตรีผ่านไป กำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม (ยามท่ามกลาง) คือ กำลังอยู่ในช่วงเวลา ๒๒ นาฬิกา @ถึง ๒ นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๒/๔๗๘ @ ปฏิสันถาร ในที่นี้หมายถึงการต้อนรับ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส) @(๒) ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม) (องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๕๓/๑๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๑. อัปปมาทคารวสูตร

เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้นรู้ ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ๑- แล้วหายไป ณ ที่นั้นแล ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท ๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล @เชิงอรรถ : @ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวาโดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน @เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา จนมองไม่เห็นผู้ที่ตน @เคารพแล้วคุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ (การกราบด้วยอวัยวะทั้ง ๕ อย่าง ลงกับพื้น คือ กราบ @เอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศีรษะ (หน้าผาก) จรดลงกับพื้น) แล้วลุกขึ้นเดินจากไป @(วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๒. หิรีคารวสูตร

ภิกษุมีความเคารพในศาสดา มีความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา มีความเคารพในความไม่ประมาท มีความเคารพในปฏิสันถาร เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
อัปปมาทคารวสูตรที่ ๑ จบ
๒. หิรีคารวสูตร
ว่าด้วยความเคารพในหิริ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (ความอายบาป) ๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในโอตตัปปะ (ความกลัวบาป) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๙-๕๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=49&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=1308 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=1308#p49 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๙-๕๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]