ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๗๕-๗๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๖. ทุติยสัญญาสูตร

๕. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา๑- สูตรที่ ๑
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มาก๒- แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๓- มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา) ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ @ เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้เจริญขึ้นและตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๔-๕๕/๖๓, ๔๑๘/๔๔๘, ๔๕๓/๔๖๙ @ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อยๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) @ อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๖. ทุติยสัญญาสูตร

๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อสุภสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง กล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่ โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภ- สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุน ธรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามการ ร่วมเมถุนธรรม ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อสุภ- สัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละ(กำลังคือภาวนา) ของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัด ในอสุภสัญญานั้น แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อสุภสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษ ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอสุภสัญญานั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า “อสุภสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด” (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๗๕-๗๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=75&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=2012 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=2012#p75 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๕-๗๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]