ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร

แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุง ตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นหัวหน้า สูงส่ง ล้ำเลิศ ฉันนั้นเหมือนกัน
กามโภคีสูตรที่ ๑ จบ
๒. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี ดังนี้ว่า คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ เครื่องบรรลุโสดา๑- ๔ ประการ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรม๒- ด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต๓- สิ้นแล้ว เป็น โสดาบัน๔- ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๕- ในวันข้างหน้า’ อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไป ในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้ @เชิงอรรถ : @ องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. ๓/๔๗๘/๓๐๗) @ อริยญายธรรม หมายถึงมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๑-๙๒/๓๖๗) @ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) @ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา. ๒/๘๗/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร

เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็น ไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้ ๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ... ๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ... ๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ... ๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑- อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมไม่ประสพภัย เวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข- โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้ อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์ เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” @เชิงอรรถ : @ สุราและเมรัย หมายถึง สุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ @(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่อง @ดองน้ำอ้อย (๔) เครื่องดองน้ำผึ้ง (๕) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (ขุ.ขุ.อ. หน้า ๑๗-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุปาสกวรรค ๒. ภยสูตร

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน” ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติ สมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควร แก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้พิจาณาเห็นอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป๑- คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี @เชิงอรรถ : @ สํ.ม. ๑๙/๑๐๒๔/๓๓๗, ขุ.อุ. ๒๕/๑/๙๓, ขุ.ม. ๒๙/๑๘๖/๓๗๐, ขุ.จู. ๓๐/๘๘/๑๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=212&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=6069 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=6069#p212 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]