ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๕. ปฐมอธัมมสูตร

ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
โอริมสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๑
[๑๗๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่ เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร

สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ ๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท ๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสวาจา ๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา ๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ คือ ๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ๒. เจตนางดเว้นจากอทินนาทาน ๓. เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ๔. เจตนางดเว้นจากมุสาวาท ๕. เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจา ๖. เจตนางดเว้นจากผรุสวาจา ๗. เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ๘. อนภิชฌา ๙. อพยาบาท ๑๐. สัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น ธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบ แล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมอธัมมสูตร ที่ ๕ จบ
๖. ทุติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้ แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=307&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=8689 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=8689#p307 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]