ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๑๑๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๐. มัคควรรค ๑. ปัญจสตภิกขุวัตถุ

๒๐. มัคควรรค
หมวดว่าด้วยมรรค
๑. ปัญจสตภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ดังนี้) [๒๗๓] บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด บรรดาสัจจะ อริยสัจ ๔ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรม วิราคธรรม๑- ประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้า๒- ตถาคตผู้มีจักษุ๓- ประเสริฐที่สุด๔- [๒๗๔] ทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ คือทางนี้เท่านั้น มิใช่ทางอื่น เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แล เพราะทางนี้เป็นทางลวงมารให้หลง [๒๗๕] ด้วยว่า เธอทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เรารู้วิธีถอนลูกศรคือกิเลสแล้ว จึงชี้บอกทางนี้แก่เธอทั้งหลาย [๒๗๖] เธอทั้งหลายควรทำความเพียรเองเถิด ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น ผู้บำเพ็ญภาวนา ดำเนินตามทางนี้แล้ว เพ่งพินิจอยู่ จักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้๕- @เชิงอรรถ : @ วิราคธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๙) @ สัตว์สองเท้า ในที่นี้หมายถึงมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๙) @ จักษุ ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (วิ.อ. ๓/๑๓/๑๗) @ อภิ.ก. ๓๗/๘๗๒/๔๙๖ @ เครื่องผูกแห่งมาร หมายถึงวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ) (ขุ.ธ.อ. ๗/๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๑๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๑๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=117&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=3012 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=3012#p117 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]