ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๓. นาควรรค ๗. สัมพหุลภิกขุวัตถุ

๕. สานุสามเณรวัตถุ
เรื่องสานุสามเณร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่สานุสามเณร ดังนี้) [๓๒๖] แต่ก่อนจิตนี้ได้ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย วันนี้ เราจะข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย เหมือนควาญช้างปราบพยศช้างตกมัน ฉะนั้น๑-
๖. ปาเวรกหัตถิวัตถุ
เรื่องช้างปาเวรกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๒๗] เธอทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม๒- เหมือนช้างกุญชรที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น
๗. สัมพหุลภิกขุวัตถุ๓-
เรื่องภิกษุหลายรูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๒๘] ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกัน เป็นสาธุวิหารี๔- เป็นนักปราชญ์ @เชิงอรรถ : @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๗๗/๓๓๑, ๒๖/๑๑๓๓/๕๒๔ @ หล่ม ในที่นี้หมายถึงกิเลส (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๕๕) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๔/๓๕๕, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๗-๑๙/๓๐๓, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑-๑๓๒/๔๓๓-๔๓๔ @ สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ @(ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑/๔๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๓. นาควรรค ๘. มารวัตถุ

ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด [๓๒๙] ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น [๓๓๐] การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ เพราะคุณเครื่องความเป็นสหาย๑- ไม่มีในคนพาล อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้เดียว ไม่พึงทำความชั่ว เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า ฉะนั้น
๘. มารวัตถุ
เรื่องมาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่มารผู้มีบาป ดังนี้) [๓๓๑] เมื่อมีกิจเกิดขึ้น สหายทั้งหลายนำสุขมาให้ ความยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้ ในเวลาสิ้นชีวิต บุญนำสุขมาให้ การละทุกข์ได้ทั้งหมด นำสุขมาให้ @เชิงอรรถ : @ คุณเครื่องความเป็นสหาย หมายถึงคุณธรรมเหล่านี้ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กถาวัตถุ ๑๐ @ธุดงคคุณ ๑๓ วิปัสสนาญาณ มรรค ๔ ผล ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ อมตมหานิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=135&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=3472 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=3472#p135 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]