ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต]

                                                                 ๕. สีลสัมปันนสูตร

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้จักทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เป็นผู้ควรเพื่อจะทำที่สุดทุกข์ได้ และเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา๑- แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ
๕. สีลสัมปันนสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
[๑๐๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์ ด้วยปัญญา สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง เป็นผู้สามารถกล่าวบรรยายสัทธรรมให้เข้าใจง่าย การได้เห็นภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้ฟัง(ธรรม)ภิกษุ เหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบสุตตนิบาต ข้อ ๗๓๐-๗๓๓ หน้า ๖๗๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๘๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต]

                                                                 ๕. สีลสัมปันนสูตร

มีอุปการะมาก การได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก การได้ ระลึกถึงภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก และการได้ออกบวชตามภิกษุ เหล่านั้น เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก นั่นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะ เมื่อภิกษุเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้๑- ภิกษุผู้ทรงคุณดังกล่าวนั้น สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ก็จะถึงความ บริบูรณ์ด้วยภาวนา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงคุณเห็นปานนี้นั้น เราเรียกว่า ‘ศาสดา’ บ้าง ‘สัตถวาหะ(ผู้นำหมู่คณะ)’ บ้าง ‘รณัญชหะ(ผู้ละข้าศึกคือกิเลส)’ บ้าง ‘ตโมนุทะ(ผู้ บรรเทาความมืด)’ บ้าง ‘อาโลกกร(ผู้ทำแสงสว่าง)’ บ้าง ‘โอภาสกร(ผู้ทำโอภาส)’ บ้าง ‘ปัชโชตกร(ผู้ทำความรุ่งเรือง)’ บ้าง ‘ปภังกร(ผู้ทำรัศมี)’ บ้าง ‘อุกการธาร(ผู้ทรง ประทีปคือปัญญา)’ บ้าง ‘อริยะ(พระอริยะ)’ บ้าง ‘จักขุมันตะ(ผู้มีปัญญาจักษุ)’ บ้าง” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า การได้เห็นพระอริยะทั้งหลายผู้อบรมตนดีแล้ว ดำรงชีวิตโดยธรรมเสมอ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์แก่บัณฑิตผู้รู้แจ้ง พระอริยะทั้งหลายผู้ทำรัศมี ทำแสงสว่าง เป็นนักปราชญ์ มีปัญญาจักษุ ละข้าศึกคือกิเลส ประกาศสัทธรรม ทำสัตว์โลกให้เกิดปัญญาสว่างไสว ซึ่งหากบัณฑิตได้ฟังคำสอนแล้ว รู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีกแน่นอน เพราะรู้ยิ่งภาวะที่สิ้นสุดการเกิด แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สีลสัมปันนสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ เข้าไปนั่งใกล้ หมายถึงถามปัญหาและปฏิบัติตาม (ขุ.อิติ.อ. ๑๐๔/๓๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๘๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=482&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=12690 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=12690#p482 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]