ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๕๕-๕๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๖. ปัณฑิตวรรค ๑๑. ปัญจสตอาคันตุกภิกขุวัตถุ

๑๐. ธัมมัสสวนวัตถุ๑-
เรื่องการฟังธรรม
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๘๕] ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้น๒- มีจำนวนน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้๓- ทั้งนั้น [๘๖] ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ๔- ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก ไปถึงฝั่งโน้นได้
๑๑. ปัญจสตอาคันตุกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุอาคันตุกะ ๕๐๐ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุอาคันตุกะผู้อยู่ในแคว้นโกศล ดังนี้) [๘๗] บัณฑิตละธรรมดำ๕- แล้วพึงเจริญธรรมขาว๖- ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ๗- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๔/๓๓, ๑๙๘/๑๓๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๗/๒๖๙-๒๗๐ @ ฝั่งโน้น หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕, ขุ.ธ.อ. ๔/๕๐, สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖) @ ฝั่งนี้ หมายถึงสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน) (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๐) หรือหมายถึงวัฏฏะ @(สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖) @ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ @นิพพาน ๑ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) @ ธรรมดำ หมายถึงอกุศลธรรม มีกายทุจริต เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑) @ ธรรมขาว หมายถึงกุศลธรรม มีกายสุจริต เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑) @ ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ หมายถึงออกจากวัฏฏะที่เรียกว่า โอกะ (ที่มีน้ำ) มาสู่วิวัฏฏะที่เรียกว่า อโนกะ @(ที่ไม่มีน้ำ) ได้แก่ นิพพาน (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕, ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๗. อรหันตวรรค ๑. ชีวกวัตถุ

[๘๘] ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนายินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง พึงชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย [๘๙] บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก๑-
ปัณฑิตวรรคที่ ๖ จบ
๗. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. ชีวกวัตถุ
เรื่องหมอชีวก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่หมอชีวก ดังนี้) [๙๐] ผู้บรรลุจุดหมายปลายทางแล้ว๒- ไร้ความโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง๓- ละกิเลสเครื่องร้อยรัด๔- ได้หมด ย่อมไม่มีความเร่าร้อน @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๔/๓๓-๓๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖๙/๓๐๔-๓๐๖ @ ผู้บรรลุจุดหมายปลายทาง หมายถึงพระขีณาสพผู้ถึงที่สุดแห่งสังสารวัฏ (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๔) @ ธรรมทั้งปวง หมายถึงธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๔) @ กิเลสเครื่องร้อยรัด หมายถึงกิเลส ๔ อย่าง คือ (๑) อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น @(๒) พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) อิทังสัจจาภินิเวส @ความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๕) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๙/๑๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๕-๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=55&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=1421 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=1421#p55 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๕-๕๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]