ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๖-๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๕. มงคลสูตร

๘. อะไรชื่อว่า แปด ที่ชื่อว่า แปด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ ๙. อะไรชื่อว่า เก้า ที่ชื่อว่า เก้า ได้แก่ สัตตาวาส ๙ ๑- ๑๐. อะไรชื่อว่า สิบ ที่ชื่อว่า สิบ ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ ๒- เรียกว่า พระอรหันต์
สามเณรปัญหา จบ
๕. มงคลสูตร
ว่าด้วยมงคล
[๑] ข้าพเจ้า๓- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๔- เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร๕- ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๑/๒๓๒, ๓๕๙/๒๗๒ @ องค์คุณ ๑๐ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ @(๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณะ (๑๐) สัมมาวิมุตติ (ขุ.ขุ.อ. ๔/๗๗) @ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์ @ ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม(ยามแรก) กำหนดเวลา ๔ ชั่วโมงตั้งแต่เวลา ๑๘ นาฬิกาถึง ๒๒ @นาฬิกาแห่งราตรีที่ผ่านไป กำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม(ยามกลาง) คือกำลังอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ ๒๒ นาฬิกา @ถึง ๒ นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘, ขุ.ขุ.อ. ๕/๙๙) @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๕. มงคลสูตร

[๒] เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก ต่างมุ่งหวังความสวัสดี ร่วมกันคิดถึงเรื่องมงคล ขอพระองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด (พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบดังนี้) [๓] (๑) การไม่คบคนพาล (๒) การคบแต่บัณฑิต (๓) การบูชาคนที่ควรบูชา นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๔] (๔) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม (๕) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน (๖) การตั้งตนไว้ชอบ นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๕] (๗) ความเป็นพหูสูต (๘) ความเป็นผู้มีศิลปะ (๙) วินัยที่ศึกษามาดี (๑๐) วาจาสุภาษิต นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๖] (๑๑) การบำรุงมารดาบิดา (๑๒) การสงเคราะห์บุตร (๑๓) การสงเคราะห์ภรรยา (๑๔) การงานที่ไม่อากูล๑- นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๗] (๑๕) การให้ทาน (๑๖) การประพฤติธรรม (๑๗) การสงเคราะห์ญาติ (๑๘) การงานที่ไม่มีโทษ นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๘] (๑๙) การงดเว้นจากบาป (๒๐) การเว้นจากการดื่มน้ำเมา (๒๑) ความไม่ประมาทในธรรม นี้เป็นมงคลอันสูงสุด @เชิงอรรถ : @ อากูล หมายถึงการงานที่ทำคั่งค้างไว้ ที่ทำไม่เหมาะสม และที่ทำย่อหย่อนไม่สมบูรณ์แบบ (ขุ.ขุ.อ. ๕/๑๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๕. มงคลสูตร

[๙] (๒๒) ความเคารพ (๒๓) ความถ่อมตน (๒๔) ความสันโดษ (๒๕) ความกตัญญู (๒๖) การฟังธรรมตามกาล นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๑๐] (๒๗) ความอดทน๑- (๒๘) ความเป็นคนว่าง่าย (๒๙) การพบเห็นสมณะ (๓๐) การสนทนาธรรมตามกาล นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๑๑] (๓๑) การเผาผลาญบาป (๓๒) การประพฤติพรหมจรรย์๒- (๓๓) การเห็นอริยสัจ (๓๔) การทำนิพพานให้แจ้ง นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๑๒] (๓๕) จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว (๓๖) จิตไม่เศร้าโศก (๓๗) จิตปราศจากธุลี (๓๘) จิตเกษม นี้เป็นมงคลอันสูงสุด [๑๓] เทวดาและมนุษย์ทำมงคลดังกล่าวมานี้แล้ว ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน ทั้ง ๓๘ ประการนั้น เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
มงคลสูตร จบ
@เชิงอรรถ : @ ความอดทน ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ (ขันติคือความอดกลั้น) ได้แก่ ความอดกลั้นต่อคำด่าต่างๆ @อดกลั้นต่อการถูกเบียดเบียน ตลอดถึงอดกลั้นต่อทุกขเวทนา เช่น ความหนาว ความร้อน เป็นต้น ยกตน @อยู่เหนือทุกข์ต่างๆ ดำรงตนอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว (ขุ.ขุ.อ. ๕/๑๒๙) @ พรหมจรรย์ เป็นชื่อของ (๑) เมถุนวิรัติ (ดู ที.สี. (แปล) ๙/๘/๓, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๙๒/๓๒๓) @(๒) สมณธรรม (ดู ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๕๗/๒๗๗) (๓) ศาสนา (ดู ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๘/๑๑๓) (๔) มรรค @(ดู สํ.ม. (แปล) ๑๙/๖/๙) (ขุ.ขุ.อ. ๕/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖-๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=6&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=134 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=134#p6 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖-๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]