ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๖๔๑-๖๔๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

                                                                 ๘. สัลลสูตร

[๕๗๙] ภิกษุ ๓๐๐ รูปนี้ ยืนประนมมือกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้า ขอพระองค์โปรดเหยียดพระยุคลบาทออกมาเถิด ขอเชิญท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระศาสดาเถิด
เสลสูตรที่ ๗ จบ
๘. สัลลสูตร
ว่าด้วยลูกศรคือกิเลส
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แก่อุบาสกคนหนึ่งผู้โศกเศร้าเพราะบุตรตาย ด้วยพระคาถาดังนี้) [๕๘๐] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีนิมิต๑- ใครๆ รู้ไม่ได้ ทั้งลำบาก สั้นนิดเดียว และประกอบด้วยทุกข์ [๕๘๑] วิธีที่สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายย่อมไม่มี แม้จะอยู่ไปจนถึงชรา ก็จะต้องถึงแก่ความตาย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีความตายอย่างนี้เป็นธรรมดา [๕๘๒] สัตว์ที่เกิดมาแล้ว มีภัยจากความตายเป็นนิตย์ เหมือนผลไม้สุกแล้วมีภัยจากการหล่นไปในเวลาเช้า ฉะนั้น [๕๘๓] ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำไว้ทั้งหมด มีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ไม่มีนิมิต หมายถึงไม่มีกิริยาอาการบ่งบอกว่าจะตาย (ขุ.สุ.อ. ๒/๕๘๐/๒๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๔๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

                                                                 ๘. สัลลสูตร

[๕๘๔] มนุษย์ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่ และฉลาด ทั้งหมด ย่อมไปสู่อำนาจความตาย มีความตายรออยู่ข้างหน้า [๕๘๕] เมื่อมนุษย์เหล่านั้นถูกความตายครอบงำอยู่ กำลังจะจากโลกนี้ไปสู่ปรโลก บิดาก็ต้านทานบุตรไว้ไม่ได้ หรือหมู่ญาติก็ต้านทานญาติไว้ไม่ได้ [๕๘๖] เมื่อพวกญาติ กำลังเพ่งมองดูอยู่ รำพันกันเป็นอันมากอยู่นั่นแหละว่า จงดูสัตว์แต่ละตนๆ ถูกความตายนำไป เหมือนโคถูกนำไปฆ่า ฉะนั้น [๕๘๗] สัตว์โลกถูกความแก่และความตายครอบงำอยู่อย่างนี้๑- เพราะฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายทราบชัด ความเป็นจริงของสัตว์โลกแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก [๕๘๘] ท่านไม่รู้ทางของผู้มาหรือผู้ไป เมื่อไม่เห็นที่สุดทั้ง ๒ นี้ ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์ [๕๘๙] หากผู้ที่หลงคร่ำครวญ เบียดเบียนตนอยู่ จะพึงนำประโยชน์อะไรมาได้บ้าง บัณฑิตผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ก็จะพึงกระทำเช่นนั้นบ้าง๒- [๕๙๐] บุคคลจะได้รับความสงบใจ เพราะการร้องไห้ เพราะความเศร้าโศกก็หาไม่ ทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้นยิ่งขึ้น และร่างกายของเขามีแต่จะซีดเซียวลง @เชิงอรรถ : @ ข้อ ๕๘๒-๕๘๗ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓๙/๑๔๒-๑๔๗, ขุ.ชา (แปล) ๒๘/๑๑๙/๒๐๑ @ ดู ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๙๐/๓๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๔๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๔๑-๖๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=641&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=17205 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=17205#p641 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๔๑-๖๔๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]