ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๖๙๗-๖๙๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๗. ติสสเมตเตยยสูตร

[๘๑๙] มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รับรู้ เหมือนหยดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนดอกบัว ฉะนั้น [๘๒๐] พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รับรู้ พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการความหมดจดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้องคลายกำหนัด
ชราสูตรที่ ๖ จบ
๗. ติสสเมตเตยยสูตร๑-
ว่าด้วยปัญหาของติสสเมตเตยยะ
(ท่านพระติสสเมตเตยยะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้) [๘๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ ข้าพระองค์ฟังคำสอนของพระองค์แล้วจักศึกษาวิเวก (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมตเตยยะ) [๘๒๒] คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ ย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๔๙-๕๘/๑๖๘-๑๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๗. ติสสเมตเตยยสูตร

[๘๒๓] ผู้ใดในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียว๑- (ต่อมา)เข้าไปเสพเมถุนธรรม๒- ผู้รู้ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นปุถุชนเลวในโลก เหมือนยานที่แล่นไป๓- ฉะนั้น [๘๒๔] ยศและเกียรติ๔- ในเบื้องต้นของภิกษุนั้น เสื่อมไป ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม [๘๒๕] ภิกษุนั้นถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า ครั้นได้ยินคำตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น [๘๒๖] ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของผู้อื่นตักตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา๕- ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ [๘๒๗] ภิกษุ (ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ เที่ยวไปผู้เดียว หมายถึงบวชเป็นบรรพชิตและการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๑/๑๗๗) @ เข้าไปเสพเมถุน หมายถึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์เสพเมถุนธรรม (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๑/๑๗๘) @ ยานที่แล่นไป ในที่นี้หมายถึงยานช้าง ยานม้า และยานโค ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกหัด ย่อมแล่นพาออกไป @นอกทาง (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๑/๑๗๘) @ ยศและเกียรติ ในที่นี้หมายถึงลาภสักการะและความสรรเสริญ (ขุ.สุ.อ. ๒/๘๒๔/๓๗๓) @ ศัสตรา มี ๓ อย่าง คือ (๑) ศัสตราทางกาย (๒) ศัสตราทางวาจา (๓) ศัสตราทางใจ หรือกายทุจริต @๓ อย่าง วจีทุจริต ๔ อย่าง และมโนทุจริต ๓ อย่าง ในที่นี้หมายถึงศัสตราทางวาจา @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๔/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสูตร

[๘๒๘] มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม [๘๒๙] บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั้นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญตนว่าเราเป็นผู้ประเสริฐสุด ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่า อยู่ใกล้นิพพาน [๘๓๐] หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปสูรสูตร๑-
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าปสูระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ปสูรปริพาชกในท่ามกลางพุทธบริษัทดังนี้) [๘๓๑] สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น บุคคลอาศัยศาสดาใดก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ๒- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๙-๖๙/๑๙๕-๒๑๖ @ ปัจเจกสัจจะ ในที่นี้หมายถึงสัจจะเฉพาะอย่าง เช่น สัจจะที่ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๙/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๙๗-๖๙๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=697&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=18792 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=18792#p697 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๙๗-๖๙๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]