ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๘๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๔. พุทธวรรค ๒. ยมกปาฏิหาริยวัตถุ

๑๔. พุทธวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
๑. มารธีตาวัตถุ
เรื่องธิดามาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ธิดามาร ๓ นาง คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ดังนี้) [๑๗๙] กิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู้ชนะได้แล้ว พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย๑- ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า [๑๘๐] ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา๒- ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหนๆ พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า
๒. ยมกปาฏิหาริยวัตถุ
เรื่องยมกปาฏิหาริย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เทวดาและมนุษย์ที่ประตูสังกัสสนคร ดังนี้) [๑๘๑] ท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่าใดใฝ่ใจในฌาน ยินดีในเนกขัมมะ๓- แม้ทวยเทพก็ชื่นชมท่านผู้เป็นปราชญ์เหล่านั้น ผู้มีสติ ตรัสรู้เองโดยชอบ @เชิงอรรถ : @ ร่องรอย ในที่นี้หมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๖๕) @ วิสัตติกา หมายถึงตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ (ขุ.ธ.อ. ๖/๖๖) @ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงนิพพานเป็นที่สงบระงับกิเลส (ขุ.ธ.อ. ๖/๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๘๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๘๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=89&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=2273 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=2273#p89 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]