ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

หน้าที่ ๓๐๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต]

                                                                 ๒. ทุติยวรรค ๘. สิงคาลเถรคาถา

๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา
ภาษิตของพระเพลัฏฐสีสเถระ
ทราบว่า ท่านพระเพลัฏฐสีสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า [๑๖] โคอาชาไนย เจริญเต็มที่เทียมไถแล้ว ย่อมลากไถไปได้โดยไม่ลำบาก ฉันใด เราเมื่อได้ความสุข ปราศจากอามิส๑- เจือปนแล้ว วันคืนทั้งหลาย ย่อมผ่านพ้นเราไปโดยไม่ยาก ฉันนั้น
๗. ทาสกเถรคาถา
ภาษิตของพระทาสกเถระ
ทราบว่า ท่านพระทาสกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า [๑๗] เมื่อใด บุคคลผู้ถูกความง่วงเหงาครอบงำบริโภคมาก ชอบแต่นอนกลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาย่อมมีปัญญาเฉื่อยชา ชอบเข้าห้องเป็นอาจิณ เหมือนสุกรอ้วนที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร (นอนกลิ้งเกลือกไปมา)
๘. สิงคาลเถรคาถา
ภาษิตของพระสิงคาลเถระ
ทราบว่า ท่านพระสิงคาลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า [๑๘] ภิกษุอยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินคืออัตภาพนี้ ด้วยเข้าใจว่า เป็นกระดูกล้วน เป็นอารมณ์ ย่อมชื่อว่าเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า ท่านรูปนั้นเห็นจะละกามราคะได้เร็วพลันแน่แท้ @เชิงอรรถ : @ ความสุขจากผลสมาบัติที่ไม่เจือด้วยอามิส ๓ คือ อามิสคือกาม อามิสคือโลก อามิสคือวัฏฏะ @(ขุ.เถร.อ. ๑/๑๖/๑๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๓๐๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๓๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=26&page=309&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=26&A=8728 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=26&A=8728#p309 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 26 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]