ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๑๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการจับๆ ปล่อยๆ พ้นกิเลสไม่ได้
คำว่า ละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นละ ศาสดาองค์ก่อน อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดาองค์ ต่อมา ละธรรมที่ศาสดากล่าวสอนครั้งแรก อาศัย... ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนครั้ง ต่อมา ละหมู่คณะแรก อาศัย... หมู่คณะต่อมา ละทิฏฐิแรก อาศัย... ทิฏฐิต่อมา ละปฏิปทาแรก อาศัย... ปฏิปทาต่อมา ละมรรคแรก อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อมรรคต่อมา รวมความว่า ละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ... ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลส เครื่องข้องไม่ได้ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความพลุ่งพล่าน คือ ความ กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า ไปตามความพลุ่งพล่าน อธิบายว่า ไปตามความพลุ่งพล่าน คือ ตกไปตามความพลุ่งพล่าน ซ่านไปตามความพลุ่งพล่าน จมลงในความพลุ่งพล่าน ได้แก่ ถูกความพลุ่งพล่านผลักให้ตกไป ถูกความพลุ่งพล่านครอบงำ มีจิตถูกความ พลุ่งพล่านยึดครอง คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ... ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้ ได้แก่ ย่อมข้ามไม่ได้ คือ ข้ามไปไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้ ล่วงเลยไม่ได้ ซึ่งกิเลส เครื่องข้องคือราคะ กิเลสเครื่องข้องคือโทสะ กิเลสเครื่องข้องคือโมหะ กิเลสเครื่อง ข้องคือมานะ กิเลสเครื่องข้องคือทิฏฐิ กิเลสอันเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง กิเลสเครื่องข้อง คือทุจริต รวมความว่า สมณพรหมณ์เหล่านั้น ... ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้าม กิเลสเครื่องข้องไม่ได้ คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือศาสดา ปล่อยศาสดานั้นแล้วก็ถือศาสดาองค์อื่น ถือธรรมที่ศาสดากล่าวสอน ปล่อยธรรมนั้นแล้วก็ถือธรรมที่ศาสดากล่าวสอน อื่น ถือหมู่คณะ ปล่อยหมู่คณะนั้นแล้วก็ถือหมู่คณะอื่น ถือทิฏฐิ ปล่อยทิฏฐินั้น @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๑๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๑๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=110&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=3300 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=3300#p110 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]