ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๑๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

แล้วก็ถือทิฏฐิอื่น ถือปฏิปทา ปล่อยปฏิปทานั้นแล้วก็ถือปฏิปทาอื่น ถือมรรค ปล่อยมรรคนั้นแล้วก็ถือมรรคอื่น คือ ย่อมถือและย่อมปล่อย ชื่อว่าย่อมยึดถือ และย่อมสลัดทิ้ง รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง คำว่า เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น อธิบายว่า ลิงเที่ยวไปใน ป่าดงใหญ่ จับกิ่งไม้แล้ว ปล่อยกิ่งนั้นก็จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วก็จับกิ่งอื่น ฉันใด สมณพราหมณ์เป็นอันมากย่อมถือ และย่อมปล่อยทิฏฐิมากมาย ชื่อว่าย่อมยึดถือ และย่อมสลัดทิ้งทิฏฐิมากมาย ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เหมือนลิงจับกิ่งไม้ แล้วก็ปล่อยฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น [๒๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ (แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ
ว่าด้วยการดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ
คำว่า สมาทาน...เอง ในคำว่า สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง ได้แก่ สมาทานด้วยตนเอง คำว่า วัตรทั้งหลาย อธิบายว่า ถือเอา สมาทาน คือ ยึดถือ รับเอา ถือ ยึดมั่น ถือมั่นวัตรเยี่ยงช้างบ้าง วัตรเยี่ยงม้าบ้าง วัตรเยี่ยงโคบ้างวัตรเยี่ยงสุนัขบ้าง วัตรเยี่ยงกาบ้าง วัตรเยี่ยงท้าววาสุเทพบ้าง วัตรเยี่ยงพลเทพบ้าง วัตรเยี่ยง ปุณณภัทรบ้าง วัตรเยี่ยงมณีภัทรบ้างวัตรคือการบูชาไฟบ้าง วัตรเยี่ยงนาคบ้าง วัตรเยี่ยงครุฑบ้าง วัตรเยี่ยงยักษ์บ้าง วัตรเยี่ยงอสูรบ้าง ... วัตรคือการไหว้ทิศบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๑๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๑๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=111&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=3330 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=3330#p111 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]