ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑. กามสุตตนิทเทส

[๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น อันตรายทั้งหลายย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว ฉะนั้น คำว่า อันไม่มีกำลัง ในคำว่า กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น อธิบายว่า กิเลสอันไม่มีกำลัง คือ อ่อนกำลัง มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบช้า เล็กน้อย กิเลสเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีบุคคลนั้น รวมความว่า กิเลสทั้งหลายอัน ไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีบุคคลนั้นผู้ไม่มีกำลัง อ่อนกำลัง มีกำลังน้อย มี เรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบช้า เล็กน้อย รวมความว่า กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
คำว่า อันตรายทั้งหลาย ในคำว่า อันตรายทั้งหลายย่ำยีนรชนนั้น ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ๑- ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร @เชิงอรรถ : @ มองคร่อ คือโรคหลอดลมโป่งพองทำให้ผอมแห้ง (ขุ.ม.อ. ๕/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=16&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=450 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=450#p16 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]