ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๗๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ ย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น [๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) ผู้ใดในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวแล้ว (ต่อมา)เข้าไปเสพเมถุนธรรม ผู้รู้ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นปุถุชนเลวในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น
ว่าด้วยผู้บวชแล้วสึก
คำว่า ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วย เหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วยการบวช (๒) ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างไร คือ ผู้นั้นตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตรและอำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่อง การสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ชื่อว่าในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างนี้ ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างไร คือ เธอเมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว ก็ใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะ และป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เธอเดินรูปเดียว ยืนรูป เดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตรูปเดียว กลับมารูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ชื่อว่าในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วย การละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๗๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๗๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=177&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=5275 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=5275#p177 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]