ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๙๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น อธิบายว่า ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้ง วาทะอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า “ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดี แล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออก จากทุกข์ ในธรรมนั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย” รวมความว่า ไม่กล่าวความ หมดจดในธรรมเหล่าอื่น คำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด ในคำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดา นั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ปฏิปทา มรรคใด คำว่า ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ในความถูก ใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน คำว่า กล่าวว่าดีงาม ได้แก่ กล่าวว่างาม คือ กล่าวว่าดี กล่าวว่าฉลาด กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่ามีเหตุผล กล่าวว่ามีคุณลักษณะ กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะ ในเพราะลัทธิของตน รวมความว่า บุคคล อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น คำว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ... เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นผู้ตั้งอยู่ คือ เป็นผู้ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อในปัจเจกสัจจะ ได้แก่ ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจ เชื่อว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง” ... ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่า เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ... เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๙๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=196&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=5833 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=5833#p196 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]