ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการสำรวมวาจา
คำว่า บุคคล... เป็นผู้สำรวมวาจานั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี อธิบายว่า ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าวเท็จได้แล้ว คือเป็นคนพูดจริง ตั้งมั่นในความสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวงชาวโลก ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียดได้แล้ว ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้าง โน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่ไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกแยกกัน หรือส่งเสริมคนที่มีประโยชน์ร่วมกัน มีความสามัคคี เป็นที่ชื่นชม ยินดีในความสามัคคี รื่นเริงในสามัคคีธรรม เป็นผู้กล่าววาจาก่อให้เกิด ความสามัคคี ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบได้แล้ว วาจาใด ไร้โทษ สบายหู น่ารัก จับใจ แบบชาวเมือง คนส่วนใหญ่ชอบใจ พอใจ ก็กล่าววาจาเช่นนั้น ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อได้แล้ว พูดถูกเวลา พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีต้น มีปลาย ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอันสมควร ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ สถาน เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับเดรัจฉานกถา๑- ๓๒ ประการ มีใจ เป็นอิสระ (จากกิเลส) อยู่ ภิกษุย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ ๑. ย่อมกล่าวอัปปิจฉกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย) ๒. สันตุฏฐิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ) ๓. ปวิเวกกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ) ๔. อสังสัคคกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่) ๕. วิริยารัมภกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร) ๖. สีลกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล) ๗. สมาธิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น) ๘. ปัญญากถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา) ๙. วิมุตติกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์) @เชิงอรรถ : @ เดรัจฉานกถา ดูเชิงอรรถข้อ ๑๕๗/๔๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้ ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์) ย่อมกล่าวสติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา คำว่า ผู้สำรวมวาจา ได้แก่ ผู้สำรวม เคร่งครัด คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวร สงบ คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า บุคคล ... เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี [๘๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา
คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้ สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ดำเนินตามความเพลิดเพลินในรูปว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขารอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=257&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=7675 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=7675#p257 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]