ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๑๑๐-๑๓๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส๑-
ว่าด้วยปัญหาของเมตตคูมาณพ
[๑๘] (ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก ทุกข์เหล่านี้เกิดมาจากที่ไหนหนอ (๑)
ว่าด้วยการถาม ๓
คำว่า ขอทูลถาม ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม ปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ได้แก่ การถาม ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น ๒. การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว ๓. การถามเพื่อตัดความสงสัย การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น เป็นอย่างไร คือ โดยปกติลักษณะใด ตนยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังมิได้เทียบเคียง ยังมิได้ พิจารณา ยังมิได้ทำให้กระจ่าง ยังมิได้ทำให้แจ่มแจ้ง ก็ถามปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อเทียบเคียง เพื่อพิจารณา เพื่อทำให้ลักษณะนั้นแจ่มแจ้ง นี้ชื่อว่าการถามเพื่อ ทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๕๖-๑๐๖๗/๕๓๔-๕๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คือ โดยปกติลักษณะใด ตนรู้ เห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ก็ถามปัญหา เพื่อเทียบเคียงลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่น นี้ชื่อว่า การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว การถามเพื่อตัดความสงสัย เป็นอย่างไร คือ โดยปกติบุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดความคิดเป็นสองแง่ว่า “เป็นอย่างนี้หรือไม่หนอ เป็นอะไรหรือ เป็นอย่างไรหนอ” เขาก็ถามปัญหา เพื่อตัดความสงสัย นี้ชื่อว่าการถามเพื่อตัดความสงสัย เหล่านี้ ชื่อว่าการถาม ๓ อย่าง การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามของมนุษย์ ๒. การถามของอมนุษย์ ๓. การถามของรูปเนรมิต การถามของมนุษย์ เป็นอย่างไร คือ พวกมนุษย์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแล้ว ทูลถามปัญหา คือ พวกภิกษุก็ทูลถาม ภิกษุณีก็ทูลถาม อุบาสกก็ทูลถาม อุบาสิกาก็ทูลถาม พระ ราชาก็ทูลถาม กษัตริย์ก็ทูลถาม พราหมณ์ก็ทูลถาม แพศย์ก็ทูลถาม ศูทรก็ทูลถาม คฤหัสถ์ก็ทูลถาม บรรพชิตก็ทูลถาม นี้ชื่อว่าการถามของมนุษย์ การถามของอมนุษย์ เป็นอย่างไร คือ พวกอมนุษย์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแล้ว ทูลถามปัญหา คือ พวกนาคก็ทูลถาม ครุฑก็ทูลถาม ยักษ์ก็ทูลถาม อสูรก็ทูลถาม คนธรรพ์ก็ทูลถาม ท้าวมหาราชก็ทูลถาม พระอินทร์ก็ทูลถาม พระพรหมก็ทูลถาม เทวดาก็ทูลถาม นี้ชื่อว่าการถามของอมนุษย์ การถามของรูปเนรมิต เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงเนรมิตพระรูปใด ซึ่งสำเร็จด้วยพระทัย มีอวัยวะ น้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง พระรูปเนรมิตนั้น เข้าเฝ้าพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้าแล้ว ก็ทูลถามปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่าการ ถามของรูปเนรมิต เหล่านี้ชื่อว่าการถามอีก ๓ อย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อประโยชน์ตน ๒. การถามเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๓. การถามเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อประโยชน์ในภพปัจจุบัน ๒. การถามเพื่อประโยชน์ในภพหน้า ๓. การถามเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามเพื่อประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ๒. การถามเพื่อประโยชน์ที่ปราศจากกิเลส ๓. การถามเพื่อประโยชน์ที่ผุดผ่อง การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงอดีต ๒. การถามถึงอนาคต ๓. การถามถึงปัจจุบัน การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงเรื่องภายใน ๒. การถามถึงเรื่องภายนอก ๓. การถามถึงเรื่องทั้งภายในและภายนอก การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงกุศลธรรม ๒. การถามถึงอกุศลธรรม ๓. การถามถึงอัพยากตธรรม การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงขันธ์ ๒. การถามถึงธาตุ ๓. การถามถึงอายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงสติปัฏฐาน ๒. การถามถึงสัมมัปปธาน ๓. การถามถึงอิทธิบาท การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงอินทรีย์ ๒. การถามถึงพละ ๓. การถามถึงโพชฌงค์ การถามอีก ๓ อย่าง คือ ๑. การถามถึงมรรค ๒. การถามถึงผล ๓. การถามถึงนิพพาน คำว่า ขอทูลถามปัญหานั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด รวมความว่า ขอทูลถามปัญหานั้น คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด อธิบายว่า ขอโปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ รวม ความว่า ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้ คำว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรม พระองค์แล้ว อธิบายว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงเป็นผู้จบเวท สำคัญ พระองค์ว่ามีพระองค์อบรมแล้ว คือ เข้าใจอย่างนี้ รู้อย่างนี้ รู้ละเอียดอย่างนี้ รู้ เฉพาะอย่างนี้ แทงตลอดอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ว่าด้วยผู้จบเวท
คำว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท อย่างไร ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯลฯ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิในมรรคทั้ง ๔ เรียกว่า เวท พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุที่สุด ทรงถึงส่วนสุด ทรงบรรลุส่วนสุด ทรงถึงปลายสุด ทรงบรรลุปลายสุด ทรงถึงท้ายสุด ทรงบรรลุท้ายสุด ทรงถึงที่ ปกป้อง ทรงบรรลุที่ปกป้อง ทรงถึงที่หลีกเร้น ทรงบรรลุที่หลีกเร้น ทรงถึงที่พึ่ง ทรงบรรลุที่พึ่ง ทรงถึงที่ไม่มีภัย ทรงบรรลุที่ไม่มีภัย ทรงถึงที่ไม่จุติ ทรงบรรลุที่ไม่จุติ ทรงถึงที่ไม่ตาย ทรงบรรลุที่ไม่ตาย ทรงถึงที่ดับ ทรงบรรลุที่ดับแห่งชาติ ชรา และมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงถึงที่สุดแห่ง เวททั้งหลาย ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลาย ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงเป็นผู้รู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือ ๑. ทรงรู้แจ้งสักกายทิฏฐิ ๒. ทรงรู้แจ้งวิจิกิจฉา ๓. ทรงรู้แจ้งสีลัพพตปรามาส ๔. ทรงรู้แจ้งราคะ ๕. ทรงรู้แจ้งโทสะ ๖. ทรงรู้แจ้งโมหะ ๗. ทรงรู้แจ้งมานะ และพระองค์ทรงรู้แจ้งบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติชราและมรณะต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ) บุคคลวิจัยเวททั้งหมดของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท๑- พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท อย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงอบรมพระองค์แล้ว เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงอบรมพระวรกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรม ปัญญา อบรมสติปัฏฐาน อบรมสัมมัปปธาน อบรมอิทธิบาท อบรมอินทรีย์ อบรมพละ อบรมโพชฌงค์ อบรมมรรค ทรงละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่ กำเริบแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้แล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ละธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงมีธรรมไม่น้อย ใหญ่ ลึกซึ้ง ประมาณไม่ได้ หยั่งลงได้ยาก มีพระธรรมรัตนะมาก เปรียบดังทะเลหลวง ประกอบด้วยอุเบกขา มีองค์ ๖ (คือ)
ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ทรงสดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดม กลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้อง โผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีรูป ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัย ตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทรงเห็นรูปนั้นที่ไม่น่าพอพระทัยทาง @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๕/๔๓๘, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘๐/๒๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

พระเนตรแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกาย ตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน ทรงหลุดพ้นดีแล้ว สดับเสียงทาง พระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระ- ชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์ ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีธรรมารมณ์ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้ เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน ทรงหลุดพ้นดีแล้ว ทรงรู้ธรรมารมณ์นั้นที่ไม่น่าพอใจทางพระทัยแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรง อยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในรูปที่ ชอบพระทัยและไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในธรรมารมณ์ที่ชอบพระทัยและ ไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในรูปที่ชวน กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวนขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่ ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองในรูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่ ทรงขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง ไม่ทรงมัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้มัวเมา ไม่ทรงเศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวน ให้เศร้าหมอง พระผู้มีพระภาคเมื่อทอดพระเนตร ก็สักว่าทอดพระเนตร เมื่อสดับก็สักว่า สดับ เมื่อรับรู้ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็สักว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ก็สักว่ารู้แจ้ง ไม่ทรงติดในรูปที่ทรงเห็น ไม่ทรงติดในเสียงที่ได้สดับ ไม่ทรงติดในกลิ่น ไม่ทรงติด ในรสและไม่ทรงติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ทรงติดในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง ไม่มีตัณหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูป ที่ทรงเห็น มีพระทัยเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ ไม่มีตัณหา ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่ทรงพัวพัน พ้นขาด ไม่ทรงเกี่ยวข้องในเสียงที่ได้สดับ ฯลฯ ในกลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ ฯลฯ ในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง มีพระทัย เป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ พระผู้มีพระภาคมีพระเนตร ทรงเห็นรูปทางพระเนตร แต่พระผู้มีพระภาคไม่ ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาค ก็มีพระโสต สดับเสียงทางพระโสต แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระนาสิก ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิก แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มี- พระภาคก็มีพระชิวหา ทรงลิ้มรสทางพระชิวหา แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วย ความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระวรกาย ทรงถูก ต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกาย แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มี พระทัยหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคก็มีพระทัย ทรงรู้ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว แต่ไม่ทรงมีความกำหนัดด้วยความพอพระทัย มีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว ตาชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระผู้มีพระภาคทรงฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมพระเนตร และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น หูชอบเสียง ยินดีในเสียง ชื่นชมในเสียง ฯลฯ จมูกชอบกลิ่น ยินดีในกลิ่น ฯลฯ ลิ้นชอบรส ยินดีในรส ชื่นชมในรส พระผู้มีพระภาคทรงฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมลิ้น และทรงแสดง ธรรมเพื่อสำรวมลิ้นนั้น กายชอบโผฏฐัพพะ ยินดีในโผฏฐัพพะ ชื่นชมในโผฏฐัพพะ ใจชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคทรงฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวม และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั้น (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) คนทั้งหลายนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงราชพาหนะที่ฝึกแล้ว ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้ว ซึ่งอดกลั้นต่อคำล่วงเกินได้ ประเสริฐสุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่ ที่ได้รับการฝึกหัดแล้ว ประเสริฐ แต่คนที่ฝึกหัดแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะเหล่านั้น เพราะใครก็ไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานพาหนะเหล่านั้นไม่ได้ เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนฝึกหัดแล้วอย่างดี ไปถึงได้๑- พระอรหันต์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากภพใหม่แล้ว บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย ท่านเป็นผู้ชนะแล้วในโลก๒- ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้วในโลกทั้งปวง ทั้งภายในและภายนอก ผู้นั้นเป็นผู้อบรมแล้ว ฝึกดีแล้ว รู้ชัดทั้งโลกนี้และปรโลก รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น๓- พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงอบรมพระองค์แล้ว อย่างนี้ รวมความว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว
ว่าด้วยทุกข์
คำว่า จากไหนหนอ ในคำว่า ทุกข์เหล่านี้เกิดมาจากไหนหนอ เป็นคำถาม ด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมี มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็น อย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า จากไหนหนอ คำว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว- ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ ทุกข์คือความเสียหาย ทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก ทุกข์เนื่องจากการเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน ทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย ทุกข์ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๓๒๑-๓๒๓/๗๒, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๙๐/๒๘๒ @ สํ.ข. ๑๗/๗๖/๖๘ @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๒/๔๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

เนื่องจากการเกิดในโลกมนุษย์ ทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ ทุกข์เนื่องจาก การอยู่ในครรภ์ ทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ ทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากผู้เกิด ทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น ทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของตนเอง ทุกข์ที่ เกิดจากความพยายามของผู้อื่น ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ทุกข์ในสงสาร ทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน โรคทางตา โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรค ทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง ความเจ็บป่วยที่เกิด จากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยน อิริยาบถไม่ได้ส่วน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บ ป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวด อุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์ เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชาย ตาย ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะความพินาศของญาติ ทุกข์เพราะความเสียหายที่เกิดจากโรค ทุกข์ เพราะโภคทรัพย์พินาศ ทุกข์เพราะสีลวิบัติ ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าใดปรากฏในเบื้องต้น ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏในเบื้องปลาย วิบากอาศัยกรรม กรรมก็อาศัยวิบาก รูปอาศัยนาม นามก็อาศัยรูป นามรูปเป็นไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ตกอยู่ในความทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย เหล่า นี้เรียกว่า ทุกข์ ท่านเมตตคูทูลถามถึงมูล เหตุ ต้นเหตุ การเกิดขึ้น แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย เหตุเกิดแห่งทุกข์เหล่านี้ว่า เกิดมาจากไหนหนอ คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน ได้แก่ มี อะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด คือ ขอทูลถาม ทูลขอ ทูลอาราธนา ทูลให้ทรงประกาศ รวมความว่า ทุกข์เหล่านี้ เกิดมาจากไหนหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า อะไรก็ตาม ในคำว่า ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตาม ... ในโลก ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า อะไรก็ตาม นี้ เป็นคำกล่าวรวมๆ ไว้ทั้งหมด คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า หลายรูปแบบ ได้แก่ ทุกข์หลายอย่าง ต่างประการ รวมความว่า ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตาม ... ในโลก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก ทุกข์เหล่านี้เกิดมาจากไหนหนอ [๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู) เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอตามที่เรารู้ ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก ล้วนเกิดมาจากอุปธิเป็นต้นเหตุ (๒) คำว่า แห่งทุกข์ ในคำว่า เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาสทุกข์ คำว่า เธอได้ถามถึงแดนเกิด อธิบายว่า เธอได้ถามถึงมูล ถามถึงเหตุ ถามถึงต้นเหตุ ถามถึงการเกิดขึ้น ถามถึงแดนเกิด ถามถึงสมุฏฐาน ถามถึงอาหาร ถามถึงอารมณ์ ถามถึงปัจจัย ถามถึงเหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ ขอ อัญเชิญ ให้ประกาศ รวมความว่า เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว คำว่า เมตตคู เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู คำว่า แดนเกิดแห่งทุกข์นั้น ในคำว่า เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่ เธอตามที่เรารู้ อธิบายว่า เราจะบอก คือ จักพูด แสดง บัญญัติ กำหนด เปิด เผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศมูล บอกเหตุ บอกต้นเหตุ บอกการเกิดขึ้น บอกแดนเกิด บอกสมุฏฐาน บอกอาหาร บอกอารมณ์ บอกปัจจัย บอกเหตุเกิด รวมความว่า เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอ คำว่า ตามที่เรารู้ อธิบายว่า เราจะบอกธรรมที่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ได้ ประจักษ์แก่ตนเองตามที่เรารู้ คือ ตามที่เราทราบ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ๆ มิใช่โดยการเล่าลือ มิใช่ โดยการถือสืบๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรกะ มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวม ความว่า เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอตามที่เรารู้
ว่าด้วยอุปธิ ๑๐
คำว่า ทุกข์ ... ล้วนเกิดมาจากอุปธิเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า คำว่า อุปธิ ได้แก่ อุปธิ ๑๐ อย่าง คือ ๑. อุปธิคือตัณหา ๒. อุปธิคือทิฏฐิ ๓. อุปธิคือกิเลส ๔. อุปธิคือกรรม ๕. อุปธิคือทุจริต ๖. อุปธิคืออาหาร ๗. อุปธิคือปฏิฆะ ๘. อุปธิคืออุปาทินนธาตุ ๔ ๙. อุปธิคืออายตนะภายใน ๖ ๑๐. อุปธิคือหมวดวิญญาณ ๖ ทุกข์แม้ทั้งหมด ก็เป็นอุปธิ เพราะมีความหมายว่า ทนได้ยาก เหล่านี้เรียกว่า อุปธิ ๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว- ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ ฯลฯ พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ตกอยู่ในความทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย เหล่านี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์เหล่านี้ มีอุปธิเป็นต้นเหตุ คือมีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิเป็นปัจจัย มีอุปธิเป็นการณ์ ชื่อว่าเกิดมา คือ กำเนิดมา เกิดขึ้น บังเกิดแต่อุปธิเป็นต้นเหตุ รวมความว่า ทุกข์ ... ล้วนเกิดมาแต่อุปธิเป็นต้นเหตุ คำว่า อะไรก็ตาม ในคำว่า หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก อธิบายว่า ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า อะไรก็ตาม นี้ เป็นคำกล่าวรวมๆ ไว้ทั้งหมด คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า หลายรูปแบบ ได้แก่ ทุกข์หลายอย่าง ต่างประการ รวมความว่า หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู) เธอได้ถามถึงแดนเกิดแห่งทุกข์กับเราแล้ว เราจะบอกแดนเกิดแห่งทุกข์นั้นแก่เธอตามที่เรารู้ ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก ล้วนเกิดมาจากอุปธิเป็นต้นเหตุ [๒๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่า มีชาติเป็นแดนเกิด ไม่ควรก่ออุปธิ (๓) คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ไม่มีปัญญา ได้แก่ ไปตามอวิชชา คือ ไม่มีความรู้ ไม่มีปัญญาแจ่ม กระจ่าง มีปัญญาทึบ คำว่า ย่อมก่ออุปธิ อธิบายว่า ย่อมก่ออุปธิคือตัณหา ก่ออุปธิคือทิฏฐิ ก่อ อุปธิคือกิเลส ก่ออุปธิคือกรรม ก่ออุปธิคือทุจริต ก่ออุปธิคืออาหาร ก่ออุปธิคือ ปฏิฆะ ก่ออุปธิคืออุปาทินนธาตุ ๔ ก่ออุปธิคืออายตนะภายใน ๖ ก่ออุปธิคือ หมวดวิญญาณ ๖ คือ ให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ คำว่า ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ อธิบายว่า ถึง เข้าถึง เข้าไปถึง คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ รวมความว่า ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ คำว่า เป็นคนเขลา ได้แก่ เป็นคนเขลา คือ เป็นคนหลง ไม่มีปัญญา ไป ตามอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มกระจ่าง มีปัญญาทึบ รวมความว่า ผู้นั้น จัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ ... ไม่ควรก่ออุปธิ ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือเพราะข้อนั้นเป็นการณ์ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ เพราะข้อนั้น เป็นปัจจัย เพราะข้อนั้นเป็นต้นเหตุ คือ มองเห็นโทษนี้ในอุปธิทั้งหลาย รวมความว่า เพราะฉะนั้น คำว่า รู้อยู่ ได้แก่ รู้อยู่ คือ ทราบอยู่ รู้แจ่มแจ้งอยู่ รู้เฉพาะอยู่ แทงตลอดอยู่ คือ รู้อยู่ ทราบอยู่ รู้แจ่มแจ้งอยู่ รู้เฉพาะอยู่ แทงตลอดอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา คำว่า ไม่ควรก่ออุปธิ อธิบายว่า ไม่ควรก่ออุปธิคือตัณหา ไม่ควรก่ออุปธิ คือทิฏฐิ ไม่ควรก่ออุปธิคือกิเลส ไม่ควรก่ออุปธิคือกรรม ไม่ควรก่ออุปธิคือ ทุจริต ไม่ควรก่ออุปธิคืออาหาร ไม่ควรก่ออุปธิคือปฏิฆะ ไม่ควรก่ออุปธิคือ อุปาทินนธาตุ๑- ๔ ไม่ควรก่ออุปธิคืออายตนะภายใน ไม่ควรก่ออุปธิหมวด @เชิงอรรถ : @ อุปาทินนธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุ ๔ มีปฐวีธาตุ เป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๑๙/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

วิญญาณ ๖ คือ ไม่ควรให้เกิด ไม่ควรให้เกิดขึ้น ไม่ควรให้บังเกิด ไม่ควรให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ ... ไม่ควรก่ออุปธิ คำว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์ คำว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น (ทุกข์ว่ามีชาติ)เป็นแดนเกิด อธิบายว่า พิจารณาเห็นมูล พิจารณาเห็นเหตุ พิจารณาเห็นต้นเหตุ พิจารณาเห็นการเกิดขึ้น พิจารณาเห็นแดนเกิด พิจารณาเห็นสมุฏฐาน พิจารณาเห็นอาหาร พิจารณาเห็น อารมณ์ พิจารณาเห็นปัจจัย พิจารณาเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ญาณ ตรัสเรียกว่า อนุปัสสนา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- ผู้ใดประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นนี้ ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้มีปกติพิจารณา เห็น รวมความว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่ามีชาติเป็นแดนเกิด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่า มีชาติเป็นแดนเกิด ไม่ควรก่ออุปธิ [๒๑] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า) พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาใดกับพระองค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๔) คำว่า พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาใดกับพระองค์ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว อธิบายว่า พวกข้าพระองค์ได้ทูล ถามปัญหาใดกับพระองค์ คือ ได้ทูลขอ ได้ทูลอัญเชิญ ได้ทูลให้ทรงประกาศ ปัญหาใด คำว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบ ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศแล้ว รวมความว่า พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหา ใดกับพระองค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ปัญหานั้นด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่น คือ ทูลขอปัญหาอื่น ทูลอัญเชิญปัญหาอื่น ทูลให้ทรงประกาศปัญหาอื่น ทูลถามให้ยิ่งขึ้นไป คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์ โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศเถิด รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด คำว่า อย่างไรหนอ ในคำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วย ความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้ หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า อย่างไรหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้แก่ นักปราชญ์ทั้งหลาย คือ บัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า โอฆะ ได้แก่ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ชาติ ได้แก่ การเกิด คือ เกิดขึ้น การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม แห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ คำว่า โสกะ ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความ เร่าร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก ของ ผู้ที่ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น นอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง คำว่า ปริเทวะ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความ เสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหาย อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว กระทบบ้าง คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะ ได้อย่างไรหนอ อธิบายว่า นักปราชญ์ทั้งหลายจะข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไร รวมความว่า นักปราชญ์ ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ปัญหานั้น ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหา นั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศปัญหาใด (ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้น)
ว่าด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการ
คำว่า พระมุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยญาณนั้น จึงชื่อว่าพระมุนี คือ ผู้ทรงบรรลุ โมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) มี ๓ ประการ คือ ๑. โมเนยยธรรมทางกาย ๒. โมเนยยธรรมทางวาจา ๓. โมเนยยธรรมทางใจ โมเนยยธรรมทางกาย เป็นอย่างไร คือ การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายปริญญา (การกำหนดรู้กาย) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย มรรคที่สหรคตด้วย ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในกาย ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ความดับแห่งกายสังขาร การบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นอย่างไร คือ การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วาจาปริญญา (การกำหนดรู้วาจา) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา มรรคที่สหรคต ด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา การละความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในวาจา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร การบรรลุ ทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร คือ การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต- ปริญญา (การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า) บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้ บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว๑- มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ มี ๖ จำพวก คือ (๑) อาคารมุนี (๒) อนาคารมุนี (๓) เสขมุนี (๔) อเสขมุนี (๕) ปัจเจกมุนี (๖) มุนิมุนี อาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้ชื่อว่าอาคารมุนี อนาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้ชื่อว่าอนาคารมุนี @เชิงอรรถ : @ ล้างบาป หมายถึงล้างบาปด้วยมรรคญาณ (ขุ.ม.อ. ๑๔/๑๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียกว่ามุนิมุนี (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า) บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่งๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่ ส่วนบุคคลผู้ฉลาดเลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่าเป็นมุนีแท้ ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี (เช่นกัน)๑- ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ ทั้งภายในและภายนอกในโลกทั้งปวง เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง๒- และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๓- คำว่า แก้ (ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้ง ได้แก่ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ โปรดแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหานั้นให้ แจ่มแจ้ง รวมความว่า พระองค์ผู้ทรงเป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้นแก่ ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด คำว่า เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะ พระองค์ทรงทราบ คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓ @ เครื่องข้อง มี ๗ อย่าง ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘๓/๕๒๐) @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาใดกับพระองค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด นักปราชญ์ทั้งหลาย จะข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสแก้ปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะธรรมนั้น พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว [๒๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู) บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ เราจักกล่าวธรรม(นั้น)ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ (๕) คำว่า ธรรม ในคำว่า เราจักกล่าวธรรม...แก่เธอ อธิบายว่า เราจักกล่าว คือ จักบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า เราจักกล่าวธรรม...แก่เธอ คำว่า เมตตคู เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในคำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่ เราเห็นแล้ว อธิบายว่า ในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมที่ได้รู้แล้ว ใน ธรรมที่ได้เทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่ได้พิจารณาแล้ว ในธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ใน ธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้ว ได้แก่ ในธรรมที่เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมที่ได้รู้แล้ว ในธรรมที่ได้เทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่ได้พิจารณาแล้ว ในธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๓๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

ในธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ ในธรรมที่ เราได้เห็นแล้ว คือ ในธรรมที่ได้รู้แล้ว ในธรรมที่ได้เทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่ได้ พิจารณาแล้ว ในธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ทำให้กระจ่างแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เราจักกล่าวถึงทุกข์ในทุกข์ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงสมุทัยในสมุทัย ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงมรรคในมรรคที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงนิโรธในนิโรธที่ได้ เห็นแล้ว รวมความว่า เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง (เราจักกล่าวธรรม) ที่เห็นได้เอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว รวมความว่า เราจักกล่าว ... ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว คำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง อธิบายว่า เราจักกล่าวถึงธรรมที่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ๆ มิใช่โดย การเล่าลือ มิใช่โดยถือสืบๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับ ทฤษฎีที่พินิจแล้ว รวมความว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว คำว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดธรรม ใดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่างแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๓๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑-
ว่าด้วยตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะขยายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่า วิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไป ซ่านไป ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ผู้มีสติ พึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวม ความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๓๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตตคู) บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ เราจักกล่าวธรรม(นั้น)ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ [๒๓] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุดนั้นที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ (๖) คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุดนั้น ได้แก่ พระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอน คำว่า ชอบใจ ได้แก่ พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ทูลขอ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันสูงสุด นั้น
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ (ข้าพระองค์ชอบใจ) ธรรมอันสูงสุด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่า ทรงแสวงหาคุณยิ่งใหญ่ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรง แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสมาธิขันธ์ใหญ่ ... ปัญญาขันธ์ใหญ่ ... วิมุตติขันธ์ใหญ่ ... วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ จึงชื่อ ว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายกองความมืดใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๔. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส

พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายความวิปลาสใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องกำจัดธงคือมานะใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องเข้าไปสงบอภิสังขารใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปิดกั้นโอฆะใหญ่ จึงชื่อว่า ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องวางภาระใหญ่ จึงชื่อว่า ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องตัดสังสารวัฏใหญ่ จึงชื่อ ว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องดับความเดือดร้อนใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องระงับความเร่าร้อนใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องยกธงคือธรรมใหญ่ จึง ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสติปัฏฐานใหญ่ ฯลฯ สัมมัปปธานใหญ่ ฯลฯ อิทธิบาทใหญ่ ฯลฯ อินทรีย์ใหญ่ ฯลฯ พละใหญ่ ฯลฯ โพชฌงค์ใหญ่ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่ ฯลฯ ปรมัตถอมตนิพพานใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๓๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๑๐-๑๓๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=110&pages=25&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=3186 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=3186#p110 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๐-๑๓๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]