ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๑๘๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า ละ คือ สละ เสียสละ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นสมาบัติ ๖ เบื้องต่ำ ได้แก่ อาศัย ติด ติด แน่น แนบแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่ออากิญจัญญายตนสมาบัติ รวมความว่า ละ สมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง อธิบายว่า สัญญาสมาบัติ ๗ ตรัสเรียกว่า สัญญาวิโมกข์๑-
ว่าด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นวิโมกข์อันเลิศ
บรรดาสัญญาสมาบัติเหล่านั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นวิโมกข์อันเลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด และยอดเยี่ยม ผู้น้อมใจไปในสัญญา- วิโมกข์ชั้นสูง เลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม ด้วยอธิมุตติวิโมกข์ ได้แก่ น้อมใจเชื่อในสัญญาวิโมกข์นั้น น้อมใจไปสู่สัญญา- วิโมกข์นั้น เที่ยวไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น มากไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น หนักไปใน สัญญาวิโมกข์นั้น เอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โน้มไป ในสัญญาวิโมกข์นั้น มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า น้อมใจไปใน สัญญาวิโมกข์ชั้นสูง คำว่า ดำรงอยู่... ได้หรือ ในคำว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ใน พรหมโลกชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำ ถามด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ รวมความว่า ดำรงอยู่... ได้หรือ คำว่า ในนั้น ได้แก่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่หวั่นไหว คือ ไม่พรั่นพรึง ไม่หลบหนี ไม่อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป อีกนัยหนึ่ง ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่ เศร้าหมอง รวมความว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น อากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า @เชิงอรรถ : @ สัญญาวิโมกข์ คือ คุณธรรมชั้นสูงที่บุคคลบรรลุ มี ๗ ได้แก่รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ (ยกเว้นเนวสัญญา- @นาสัญญายตนสมาบัติ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๘๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๘๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=184&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=5352 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=5352#p184 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๘๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]