ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๓๙๓-๔๑๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส๑-
ปฐมวรรค
ว่าด้วยการประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๑๒๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ต้องการบุตร(แล้ว)จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๑) คำว่า ทุกจำพวก ในคำว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก อธิบายว่า ทุกสิ่ง โดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง คำว่า ทุกจำพวก นี้ เป็นคำกล่าวรวมๆ ไว้ทั้งหมด คำว่า ในสัตว์ ได้แก่ สัตว์ที่มักสะดุ้งและสัตว์ที่มั่นคง เรียกว่าสัตว์ คำว่า ผู้สะดุ้ง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ยังละตัณหาอันทำให้สะดุ้งไม่ได้ ยังละภัย และความหวาดกลัวไม่ได้ เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่าผู้สะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นยังสะดุ้ง คือ ครั่นคร้าม เกรงกลัว หวาดกลัว ถึงความสะดุ้ง เพราะ เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า ผู้สะดุ้ง คำว่า ผู้มั่นคง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่ละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว ละภัย และความหวาดกลัวได้แล้ว เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่าผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นไม่สะดุ้ง ไม่ครั่นคร้าม ไม่เกรงกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่ถึงความสะดุ้ง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า ผู้มั่นคง @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๓๕-๗๕/๓๔๒-๓๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า โทษ ได้แก่ โทษ ๓ อย่าง คือ ๑. โทษทางกาย ๒. โทษทางวาจา ๓. โทษทางใจ กายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโทษทางกาย วจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโทษทางวาจา มโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโทษทางใจ คำว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก อธิบายว่า ยก คือ ทิ้ง ปลง ปลด ทอดทิ้ง ระงับโทษในสัตว์ทุกจำพวก รวมความว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก คำว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น อธิบายว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้แต่ผู้เดียว ด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา โซ่ตรวน หรือ เชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ทุกจำพวก ด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา โซ่ตรวน หรือเชือก รวมความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น คำว่า ไม่ ในคำว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า เป็นคำปฏิเสธ คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ ๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก คำว่า สหาย อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไปการมาสบาย การ ยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย การสนทนาสบาย การ เจรจาสบาย การสนทนาปราศรัยสบายกับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น เรียกว่า สหาย คำว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า อธิบายว่า ไม่ต้องการ คือ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังบุตรเลย พึงต้องการ คือ พึงยินดี พึงปรารถนา พึงมุ่งหมาย พึงมุ่งหวังมิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบหรือ สหายจากไหนเล่า รวมความว่า ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจาก ไหนเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว
คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่า ละตัณหาได้ ท่านปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าผู้เดียว ไปถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว ตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณ ลำพังผู้เดียว จึงชื่อว่าผู้เดียว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่งการบรรพชา เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตัดความกังวลในการครองเรือนทั้งหมด ตัด ความกังวลด้วยบุตรและภรรยา ความกังวลด้วยญาติ ความกังวลด้วยการ สั่งสม ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสาวะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็น ผู้ไม่มีกังวล เป็นผู้เดียว ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะส่วนแห่ง การบรรพชา เป็นอย่างนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าไม่มีเพื่อน เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น บวชแล้วอย่างนี้ ใช้สอยเสนาสนะ ที่เป็นป่าทึบ และป่าละเมาะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของ ผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นตามลำพังผู้เดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ท่านไปผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว เดินหน้าผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ฉะนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าไม่มีเพื่อน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าละตัณหาได้ เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว (อุทิศกายและใจ)อยู่ ตั้งความเพียรมาก กำจัดมาร พร้อมทั้งเสนาผู้ชั่วร้ายซึ่งกีดกันมหาชนไม่ให้หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งตัณหาที่เป็นดุจตาข่าย ซ่านไป เกาะเกี่ยวในอารมณ์ บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น ภิกษุรู้โทษนี้แล้ว รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น มีสติสัมปชัญญะอยู่๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอธิบายว่าละตัณหาได้ เป็นอย่างนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างไร คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละราคะ ได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโทสะได้แล้ว จึงชื่อ ว่าผู้เดียว ปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโมหะได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละเหล่ากิเลสได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๙/๑๕, ๒๕๗/๓๗๔, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๕/๓๒๔, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๗-๕๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไปถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตรัสเรียกว่า ทางสายเอก (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เห็นธรรมอันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล รู้จักมรรคอันเป็นทางสายเอก ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยมรรคนี้๑- พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไปถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณลำพังผู้เดียว จึง ชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างไร คือ ญาณในมรรคทั้ง ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจย- สัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า โพธิ ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ตรัสรู้ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี @เชิงอรรถ : @ สํ.ม. ๑๙/๓๘๔/๑๔๖, ๔๐๙/๑๖๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” ตรัสรู้ว่า “เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ” ตรัสรู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้คือธรรมที่ ควรรู้ยิ่ง เหล่านี้คือธรรมที่ควรละ เหล่านี้คือธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง เหล่านี้คือ ธรรมที่ควรเจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้ง ผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตรัสรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดทิ้งมหาภูตรูป ๔” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตรัสรู้ว่า“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ ดับไปเป็นธรรมดา” อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดก็ตามที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตามลำดับ ควร ตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้ด้วยดี ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสรู้ตามลำดับ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ด้วยดี ตรัสรู้โดยชอบ บรรลุถูกต้อง ทำให้แจ้งธรรมชาตินั้นทั้งหมดด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณลำพังผู้เดียว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยความประพฤติ ๘ อย่าง
คำว่า พึงประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่ ๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ ๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ ๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค ๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายในและ อายตนะภายนอกอย่างละ ๖ คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔ คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔ คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔ คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔ คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติในพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน ความ ประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ประพฤติในอายตนะมีแก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความ ไม่ประมาท ความประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณ มีแก่ผู้บรรลุปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความ ประพฤติในผลมีแก่ผู้ได้บรรลุผล และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบาง ส่วนเหล่านี้ คือ ความประพฤติ ๘ อย่าง อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. เมื่อน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ๒. เมื่อประคองใจ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ ๓. เมื่อตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ ๔. เมื่อทำความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ๕. เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา ๖. เมื่อรู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ๗. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่าง นี้” ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ ๘. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่าย่อม ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา(ความประพฤติด้วยความเห็น) ๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา(ความประพฤติด้วย การปลูกฝังความดำริ) ๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา(ความประพฤติการกำหนด สำรวมวจี ๔ อย่าง) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วย ความหมั่น) ๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา(ความประพฤติด้วยความ ผ่องแผ้ว) ๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา(ความประพฤติด้วยการ ประคองความเพียร) ๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วยการ เข้าไปตั้งสติ) ๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา(ความประพฤติด้วยความ ไม่ฟุ้งซ่าน) เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด ย่อมมีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็เหมือนนอแรดนั้น คือ เช่นเดียวกับนอแรดนั้น เปรียบได้กับนอแรดนั้น รสเค็มจัด คนพูดกันว่าเหมือนเกลือ รสขมจัด พูดกันว่าเหมือนดี รสหวานจัด พูดกันว่าเหมือนน้ำผึ้ง ร้อนจัด พูดกันว่าเหมือนไฟ เย็นจัด พูดกันว่าเหมือนน้ำแข็ง ปริมาณน้ำมีมาก พูดกันว่าเหมือนทะเล พระสาวกผู้บรรลุอภิญญาและพละอันยิ่ง ใหญ่ พูดกันว่า เหมือนพระศาสดา ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ฉันนั้น เหมือน นอแรดนั้น เป็นเช่นเดียวกับนอแรดนั้น เปรียบได้กับนอแรดนั้น ในข้อนั้น เป็นผู้เดียว คือ ไม่มีเพื่อน พ้นจากเครื่องผูกพัน ย่อมประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปโดยชอบ ในโลก รวมความว่า จึงประพฤติ อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๒) คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า คำว่า ความเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่าง คือ ๑. ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น ๒. ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ เห็นสตรีหรือกุมารี ผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อม ด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ครั้นพบเห็นแล้ว ย่อมแยกถือว่า ผมงาม หน้างาม นัยน์ตางาม หูงาม จมูกงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม ปากงาม คองาม นมงาม อกงาม ท้องงาม เอวงาม ขาอ่อนงาม แข้งงาม มืองาม เท้างาม นิ้วงาม เล็บงาม คือ ครั้นพบเห็นแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพัน ด้วยความกำหนัด นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ได้ยินว่า “ในหมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น มีสตรี หรือ กุมารี รูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อมด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง” ครั้น ได้ยิน ได้ฟังแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยความกำหนัด นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ความรักด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ ว่าเป็นของเราด้วยสัดส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ซึ่งจำแนกได้ ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความ ถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นจริง เห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า เพราะความ เกี่ยวข้อง เพราะการเห็นเป็นปัจจัย และเพราะความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยินเป็น ปัจจัย ความรักด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิย่อมมี คือ มีขึ้น เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏ รวมความว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มี ความเกี่ยวข้อง คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก อธิบายว่า คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไป อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิด ภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับบุคคลนั้นได้ จึงทูลแสดงแก่พระ ราชาว่า “ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว ขอจงทรงลงอาญาตามที่ทรงพระราช ประสงค์แก่บุคคลนี้เถิด” พระราชาย่อมทรงบริภาษบุคคลนั้น เพราะการบริภาษเป็น ปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัสบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสนี้ของเขาเกิดจาก อะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านั้น ทรงให้จองจำบุคคลนั้นด้วยเครื่อง จองจำคือขื่อคาบ้าง เครื่องจองจำคือเชือกบ้าง เครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง เครื่อง จองจำคือหวายบ้าง เครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง เครื่องจองจำคือคุกบ้าง เครื่อง จองจำคือเรือนจำบ้าง เครื่องจองจำคือหมู่บ้านบ้าง เครื่องจองจำคือนิคมบ้าง เครื่อง จองจำคือเมืองบ้าง เครื่องจองจำคือรัฐบ้าง เครื่องจองจำคือชนบทบ้าง โดยที่สุด ทรงมีพระราชโองการว่า “พวกมันออกไปจากที่นี่ไม่ได้” บุคคลนั้นย่อมเสวยทุกข์และ โทมนัส เพราะถูกจองจำเป็นปัจจัยบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิด มาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความ เพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจ ความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านั้น ทรงให้ปรับทรัพย์ของเขา ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ๑๐๐,๐๐๐ บ้าง บุคคลนั้นก็เสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการหมด เปลืองทรัพย์เป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็น ปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยเพียงเท่านั้น ทรงรับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการ ต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือ บ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและ จมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุด ไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบ หนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอวทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยว หนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือ ไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัด กินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง บุคคล นั้นย่อมเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการลงโทษเป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และ โทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรม ของตน พวกนายนิรยบาล ก็ลงโทษ มีการจองจำ ๕ อย่าง คือ ๑. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่มือขวา ๒. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่มือซ้าย ๓. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่เท้าขวา ๔. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่เท้าซ้าย ๕. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนาอย่างเผ็ดร้อนในนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาป กรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็น ปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พวกนายนิรยบาลให้เขานอนลงแล้วถากด้วยผึ่ง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลจับ เขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน พวกนายนิรยบาลจับเขาเทียมรถแล่นกลับ ไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง พวกนายนิรยบาล บังคับเขาขึ้นลง ภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชนโชติช่วงบ้าง พวกนายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะทุ่มลงในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ โชติช่วง เขาถูกต้มเดือดจน ตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางคราวลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวย ทุกขเวทนากล้าอย่างหนักเผ็ดร้อนในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบ เท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมา จากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย
ว่าด้วยนรก
พวกนายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก ก็มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ๑- มหานรกอันน่าสยดสยอง แผดเผาสัตว์ให้มีทุกข์ ร้ายแรง มีเปลวไฟ เข้าใกล้ได้ยาก น่าขนลุก น่าพรั่นพรึง น่ากลัว น่าเป็นทุกข์ มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันออก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันตก มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันตก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันออก @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๒๕๐/๒๑๗-๒๑๘, ๒๖๗/๒๓๖, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๔, อภิ.ก. ๓๗/๘๖๘/๔๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านใต้ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านเหนือ มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านเหนือ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านใต้ กองไฟที่น่าสะพรึงกลัว ผุดขึ้นมาจากเบื้องล่าง แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลุกท่วม) ติดหลังคา กองไฟที่น่าสะพรึงกลัว ลุกขึ้นมาจากหลังคา แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลามลง) กระทบถึงพื้น อเวจีมหานรก ทั้งข้างล่าง ข้างบน ด้านข้าง ก็เหมือนกับแผ่นเหล็กที่ถูกไฟเผาลน เร่าร้อนโชติช่วงอยู่เสมอ สัตว์ทั้งหลายที่หยาบช้ามาก ทำกรรมร้ายแรงมากเสมอ เป็นผู้มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว มอดไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตาย ร่างกายของสัตว์ที่อยู่ในนรกเหล่านั้น เหมือนกับไฟที่ไหม้อยู่ ขอเธอจงดูความมั่นคงของกรรมเถิด ไม่มีเถ้าและเขม่าเลย สัตว์นรกทั้งหลายวิ่งไปทางตะวันออก จากตะวันออกนั้น ก็วิ่งไปทางตะวันตก วิ่งไปทางเหนือ จากทางเหนือนั้น ก็วิ่งไปทางด้านใต้ วิ่งไปยังทิศใดๆ ประตูนั้นๆ ก็ปิดเสีย สัตว์เหล่านั้น มีความหวังจะออกไป จึงเที่ยวแสวงหาทางออกอยู่เสมอ สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถจะออกไปจากมหานรกนั้น เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะสัตว์เหล่านั้นทำกรรมชั่วร้ายไว้มาก ยังให้ผลไม่หมดสิ้น๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐/๔๘๐-๔๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย ทุกข์ของสัตว์นรกก็ดี ทุกข์ของสัตว์ที่เกิดในกำเนิดเดรัจฉานก็ดี ทุกข์ของสัตว์ ที่เกิดในเปตวิสัยก็ดี ทุกข์ของมนุษย์ก็ดี เกิดมาจากอะไร คือ เกิดขึ้นมาจากไหน บังเกิดมาจากไหน บังเกิดขึ้นมาจากไหน ปรากฏมาจากไหน ความกลัวนี้ ย่อมมี มีขึ้น เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย รวมความว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตาม ความรัก คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก อธิบายว่า คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก อธิบายว่า เราเมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นโทษอันเกิดจากความรัก คือ ความรัก ด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษ อันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในหน้า ๔๐๒-๔๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓) คำว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำ ประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ อธิบายว่า คำว่า มิตร ได้แก่ มิตร ๒ จำพวก คือ ๑. อาคาริกมิตร ๒. อนาคาริกมิตร อาคาริกมิตร เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก สละสิ่งที่สละได้ยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทนสิ่งที่ทนได้ยาก บอกความลับแก่เพื่อน ปกปิดความลับของเพื่อน ไม่ทอดทิ้งใน คราวมีอันตราย แม้ชีวิตก็สละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ เมื่อเพื่อนสิ้นเนื้อประดาตัว ก็ไม่ดูหมิ่น นี้ชื่อว่าอาคาริกมิตร อนาคาริกมิตร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นที่รัก พอใจ เป็นที่เคารพ ควรยกย่อง พูดเป็น ทนฟังถ้อยคำได้ กล่าวถ้อยคำได้ลึกซึ้ง และไม่ชักนำไปในเรื่องไม่สมควร ชักชวน (ให้บำเพ็ญ)ในทางอธิสีล ชักชวนให้หมั่นเจริญสติปัฏฐาน ๔ ชักชวนให้หมั่นเจริญ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่าอนาคาริกมิตร คำว่า สหายผู้ใจดี อธิบายว่า การมาสบาย การไปสบาย การไปการมา สบาย การยืนสบาย การนั่งสบาย การนอนสบาย การทักทายสบาย การสนทนา สบาย การเจรจาสบาย การสนทนาปราศัยสบายกับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น เรียกว่า สหายผู้ใจดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี... ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อม ไปได้ อธิบายว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์ คือ อุดหนุน เกื้อกูลมิตร คนใจดี เพื่อน ที่เห็นกันมา เพื่อนที่คบกันมาและสหาย ย่อมทำให้ประโยชน์ตนเสื่อมไปบ้าง ย่อม ทำให้ประโยชน์ผู้อื่นเสื่อมไปบ้าง ย่อมทำให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเสื่อมไปบ้าง ย่อม ทำให้ประโยชน์ในปัจจุบันเสื่อมไปบ้าง ย่อมทำให้ประโยชน์ในภพหน้าเสื่อมไปบ้าง ย่อมทำให้ประโยชน์อย่างยิ่งเสื่อมไปบ้าง คือ ให้เสียไป ให้สิ้นไป ให้เสื่อมเสีย สูญหาย สูญหายไป รวมความว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี ... ย่อม ทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ คำว่า มีใจผูกพัน อธิบายว่า บุคคลมีใจผูกพันด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. เมื่อวางตนต่ำวางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน ๒. เมื่อวางตนสูงวางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน บุคคลเมื่อวางตนต่ำ วางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านมีอุปการะมากแก่อาตมภาพ อาตมภาพอาศัย พวกท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คนเหล่าอื่น อาศัยพวกท่าน เห็นกับพวกท่าน จึงเข้าใจที่จะให้ หรือจะทำแก่อาตมภาพ ชื่อและ สกุลเก่าของมารดาบิดาของอาตมภาพสูญหายไปหมดแล้ว พวกท่านทำให้อาตมภาพ เป็นที่รู้จักว่า “อาตมภาพ เป็นพระประจำตระกูลของอุบาสกโน้น เป็นพระประจำ ตระกูลของอุบาสิกาโน้น” ดังนี้ เมื่อวางตนต่ำ วางผู้อื่นสูง ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็น อย่างนี้ บุคคลเมื่อวางตนสูง วางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุกล่าวว่า อาตมภาพมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัย อาตมภาพแล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์เป็น ที่พึ่ง เว้นขาดจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท เว้นขาด จากสุราเมรัยอันเป็นของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อาตมภาพบอก อุทเทส(บาลี)บ้าง ปริปุจฉา(อรรถกถา)บ้าง ศีลบ้าง อุโบสถบ้าง แก่พวกท่าน อาตมภาพอธิษฐานนวกรรม(ตั้งใจทำการก่อสร้าง) เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านยังทอด ทิ้งอาตมภาพไป สักการะ เคารพ นับถือ บูชาผู้อื่น เมื่อวางตนสูง วางผู้อื่นต่ำ ชื่อว่ามีใจผูกพัน เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยภัย
คำว่า ภัย ในคำว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย อัตตานุวาทภัย(ภัยเกิดจาก การติเตียนตน) ปรานุวาทภัย(ภัยเกิดจากการติเตียนของผู้อื่น) ทัณฑภัย(ภัยจาก อาชญา) ทุคติภัย(ภัยในทุคติ) อูมิภัย(ภัยจากคลื่น) กุมภีลภัย(ภัยจากจระเข้) อาวัฏฏภัย(ภัยจากน้ำวน) สุงสุมารภัย(ภัยจากปลาร้าย) อาชีวิกภัย(ภัยจากการ หาเลี้ยงชีพ) อสิโลกภัย(ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง) ปริสสารัชชภัย(ภัยจากความ ครั่นคร้ามในชุมชน) มทนภัย(ภัยจากความมัวเมา) เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ใจหวาดเสียว ความสะดุ้ง คำว่า ความเชยชิด ได้แก่ ความเชยชิด ๒ อย่าง คือ (๑) ความเชยชิดด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความเชยชิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเชยชิดด้วย อำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเชยชิดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด อธิบายว่า เมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาภัยในความเชยชิดนี้ รวมความว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นใน ความเชยชิด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ- เจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์มิตร สหายผู้ใจดี มีใจผูกพัน ย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมไปได้ บุคคลเมื่อเพ่งเห็นภัยนั้นในความเชยชิด จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๒๔] (พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า) กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด ความห่วงใยในบุตรและทาระ ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๔) @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑, และข้อ ๑๒๒/๔๐๒-๔๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ว่าด้วยตัณหา
คำว่า กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด อธิบายว่า พุ่มต้นไผ่ เรียกว่า กอไผ่ ในพุ่มต้นไผ่ ย่อมมีหนามจากกอเก่า ยุ่ง คือ รก เกี่ยว ข้อง เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันกัน ฉันใด ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยัง สัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคะนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวัง ในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังใน ทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบ บ่อยๆ ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความ ละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่ อารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยา ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ๑- รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ๒- โยคะ๓- @เชิงอรรถ : @ ตัณหานิโรธ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ @ โอฆะ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ @ โยคะ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คันถะ๑- อุปาทาน๒- อาวรณ์๓- นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย๔- ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ที่อาศัยแห่งมาร โคจรแห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจข่าย ตัณหาดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะขยายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้น แผ่ไป ซ่านไป ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส @เชิงอรรถ : @ คันถะ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐ @ อุปาทาน ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๑ @ อาวรณ์ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๑ @ อนุสัย ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา รวม ความว่า กอไผ่กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด คำว่า บุตร ในคำว่า ความห่วงใยในบุตรและทาระก็กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ ๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก ภริยา เรียกว่า ทาระ ตัณหาเรียกว่า ความห่วงใย ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า ความห่วงใยในบุตรและทาระก็กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น คำว่า บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไผ่ อธิบายว่า พุ่มต้นไผ่เรียกว่า กอไผ่ เหมือนหน่ออ่อนในกอไผ่ ไม่ข้อง ไม่เกาะติด ไม่ถูกผูกมัด ไม่พัวพัน โผล่ออก สลัดออก ผุดพ้นขึ้นได้ คำว่า เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่าง คือ (๑) ความเกี่ยวข้องด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความข้องด้วยอำนาจ ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ เกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่ เกี่ยวข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ... อดีต อนาคต ปัจจุบัน ... ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ ไม่ยึด ไม่ติด ไม่พัวพัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ไม่สยบ คือ ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากความ เกี่ยวข้อง) อยู่ รวมความว่า บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า กอไผ่กว้างใหญ่ เกาะเกี่ยวกันไว้ ฉันใด ความห่วงใยในบุตรและทาระ ก็กว้างใหญ่เกาะเกี่ยวไว้ ฉันนั้น บุคคลเมื่อไม่เกี่ยวข้องเหมือนหน่อไผ่ จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๒๕] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น (๕) คำว่า เนื้อ ในคำว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ ตามความพอใจ ฉันใด ได้แก่ เนื้อ ๒ ชนิด คือ (๑) เนื้อทราย (๒) เนื้อสมัน เนื้ออยู่ในป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ฉันใด สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจาก วิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุ(ปัญญาจักษุ)ของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจาก สมาธิอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือเป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง เพราะปีติหมดสิ้นไป ภิกษุมีแต่อุเบกขา สติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขทางกายอยู่ บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือเป็นผู้ที่มารใจบาป มองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เรา เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจ บาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุ อากิญจัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “นี้สงบ นี้ประณีต” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯลฯ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะ ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย เป็นผู้ข้ามตัณหา ที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ย่อมวางใจเดิน ยืน นั่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

นอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่ได้พบมารใจบาป๑-” รวมความว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด คำว่า วิญญู ในคำว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี ได้แก่ วิญญู คือ บัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาเห็นแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า ชน ได้แก่ ผู้ข้อง มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์ผู้เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ความเสรี ได้แก่ ความเสรี ๒ อย่าง คือ ๑. ธรรมเสรี ๒. บุคคลเสรี ธรรมเสรี เป็นอย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่าธรรมเสรี บุคคลเสรี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเสรี นี้เรียกว่า บุคคลเสรี คำว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี อธิบายว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี รวมความว่า วิญญูชน เมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงกล่าวว่า เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้ ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด วิญญูชนเมื่อเพ่งเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๒๘๗/๒๕๐-๒๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๑๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๙๓-๔๑๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=393&pages=25&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=11348 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=11348#p393 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๓-๔๑๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]