ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตรัสรู้ว่า“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ ดับไปเป็นธรรมดา” อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดก็ตามที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตามลำดับ ควร ตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้ด้วยดี ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสรู้ตามลำดับ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ด้วยดี ตรัสรู้โดยชอบ บรรลุถูกต้อง ทำให้แจ้งธรรมชาตินั้นทั้งหมดด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น พระ ปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรปัจเจกสัมโพธิญาณลำพังผู้เดียว จึงชื่อว่าผู้เดียว เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยความประพฤติ ๘ อย่าง
คำว่า พึงประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่ ๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ ๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ ๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค ๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายในและ อายตนะภายนอกอย่างละ ๖ คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔ คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔ คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔ คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔ คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติในพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน ความ ประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ประพฤติในอายตนะมีแก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความ ไม่ประมาท ความประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณ มีแก่ผู้บรรลุปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความ ประพฤติในผลมีแก่ผู้ได้บรรลุผล และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบาง ส่วนเหล่านี้ คือ ความประพฤติ ๘ อย่าง อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. เมื่อน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ๒. เมื่อประคองใจ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ ๓. เมื่อตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ ๔. เมื่อทำความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ๕. เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา ๖. เมื่อรู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ๗. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่าง นี้” ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ ๘. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่าย่อม ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา(ความประพฤติด้วยความเห็น) ๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา(ความประพฤติด้วย การปลูกฝังความดำริ) ๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา(ความประพฤติการกำหนด สำรวมวจี ๔ อย่าง) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วย ความหมั่น) ๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา(ความประพฤติด้วยความ ผ่องแผ้ว) ๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา(ความประพฤติด้วยการ ประคองความเพียร) ๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา(ความประพฤติด้วยการ เข้าไปตั้งสติ) ๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา(ความประพฤติด้วยความ ไม่ฟุ้งซ่าน) เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง คำว่า เหมือนนอแรด อธิบายว่า ธรรมดาแรด ย่อมมีนอเดียว ไม่มีนอที่สอง ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็เหมือนนอแรดนั้น คือ เช่นเดียวกับนอแรดนั้น เปรียบได้กับนอแรดนั้น รสเค็มจัด คนพูดกันว่าเหมือนเกลือ รสขมจัด พูดกันว่าเหมือนดี รสหวานจัด พูดกันว่าเหมือนน้ำผึ้ง ร้อนจัด พูดกันว่าเหมือนไฟ เย็นจัด พูดกันว่าเหมือนน้ำแข็ง ปริมาณน้ำมีมาก พูดกันว่าเหมือนทะเล พระสาวกผู้บรรลุอภิญญาและพละอันยิ่ง ใหญ่ พูดกันว่า เหมือนพระศาสดา ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ฉันนั้น เหมือน นอแรดนั้น เป็นเช่นเดียวกับนอแรดนั้น เปรียบได้กับนอแรดนั้น ในข้อนั้น เป็นผู้เดียว คือ ไม่มีเพื่อน พ้นจากเครื่องผูกพัน ย่อมประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปโดยชอบ ในโลก รวมความว่า จึงประพฤติ อยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า บุคคลยกโทษในสัตว์ทุกจำพวก ไม่เบียดเบียนสัตว์หนึ่งสัตว์ใดในบรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ต้องการบุตร(แล้ว) จะพึงต้องการสหายจากไหนเล่า จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=399&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=11511 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=11511#p399 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]