ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๓๓-๔๓๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

                                                                 ทุติยวรรค

[๑๓๑] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น (๑) คำว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน อธิบายว่า ถ้าบุคคลพึงได้ คือ พึงได้รับ สมหวัง ประสบสหายผู้มีปัญญารักษาตน คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลาย กิเลส รวมความว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน คำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ ในคำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็น นักปราชญ์ ได้แก่ เที่ยวไปร่วมกันได้ คำว่า เป็นสาธุวิหารี อธิบายว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วย กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี วิญญาณัญจายตน- สมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วยนิโรธสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี ผู้เพียบพร้อมด้วย ผลสมาบัติ ชื่อว่าสาธุวิหารี คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี ปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลาย กิเลส รวม ความว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ ฯลฯ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่ อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง๑- คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีอันตรายทั้งปวงได้แล้ว รวมความว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว คำว่า พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น พึงมีใจแช่มชื่น คือ มีใจยินดี ร่าเริง เบิกบาน มีใจสูง ปลาบปลื้มใจ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป กับสหายผู้มีปัญญารักษาตนนั้น คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า มีสติ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีสติ คือ ประกอบ ด้วยสติอันเป็นปัญญารักษาตน ระลึก ตามระลึกถึงกรรมที่ทำ คำที่พูดไว้นานแล้วได้ รวมความว่า พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น [๑๓๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่พระองค์เดียว ฉะนั้น (๒) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๘/๔๒๔-๔๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๓๓-๔๓๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=433&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=12508 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=12508#p433 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๓๓-๔๓๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]