ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ด้วยอาการอย่างนี้ การกล่าววาจา หรือความเกี่ยวข้องกับเพื่อน พึงมีแก่เรา เราเมื่อเพ่งเห็นภัยนี้ต่อไป จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๓๖] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๖) คำว่า กาม ในคำว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า สวยงาม อธิบายว่า มีรูปชนิดต่างๆ มีเสียงชนิดต่างๆ มีกลิ่นชนิด ต่างๆ มีรสชนิดต่างๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่างๆ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด คำว่า มีรสอร่อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัส อันใด อาศัยกามคุณ ๕ นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามคุณอันเป็นสุขที่เกิดแต่การมี เพศสัมพันธ์ สุขของปุถุชน มิใช่สุขของพระอริยะ เรากล่าวว่า “ไม่ควรเสพ ไม่ควร คบหา ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้”๑- รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย คำว่า น่ารื่นเริงใจ อธิบายว่า คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เกิดจากวิญญาณขันธ์นั้น กามย่อมล่อ ใจให้ยินดี ชื่นชม พอใจ รื่นเริง รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรส อร่อย น่ารื่นเริงใจ คำว่า ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ อธิบายว่า ย่อมยั่วยวน คือ ล่อให้จิตพอใจ ให้ร่าเริง ให้รื่นเริง ด้วยรูปชนิดต่างๆ ฯลฯ โผฏฐัพพะชนิดต่างๆ รวมความว่า ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ
ว่าด้วยโทษแห่งกามคุณ
คำว่า เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกาม เป็นอย่างไร กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วย การมีศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนน การคำนวณ การนับจำนวน การไถ การค้าขาย การเลี้ยงโค การยิงธนู การรับราชการ หรือด้วยศิลปะอย่างใด อย่างหนึ่ง อดทนต่อความหนาว ตรากตรำต่อความร้อน หวาดกลัวแต่สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน และตายลงด้วยความหิวกระหาย แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเค้า มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=441&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=12754 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=12754#p441 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]