ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๔๕-๔๔๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็น เหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล๑- คำว่า เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว อธิบายว่า เห็น คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณาทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโทษในกามคุณ รวมความว่า เราเห็นโทษ ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงาม มีรสอร่อย น่ารื่นเริงใจ ยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ เราเห็นโทษในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๓๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจลูกศร และเป็นภัย เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๗) คำว่า คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจ ลูกศร และเป็นภัย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย คำว่า ภัย เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ทุกข์ เป็นชื่อของกาม ทั้งหลาย คำว่า โรค เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ฝี เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า ความข้อง เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า เปือกตม เป็นชื่อของกามทั้งหลาย คำว่า การอยู่ในครรภ์ นี้ เป็นชื่อของ กามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๑๖๗-๑๖๙/๑๒๙-๑๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เพราะเหตุไร คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อของกามทั้งหลาย เพราะบุคคลนี้ยินดีใน กามราคะ ถูกฉันทราคะผูกพันไว้ ย่อมไม่พ้นไปจากภัยแม้ที่เป็นไปในภพปัจจุบัน และไม่พ้นไปจากภัยแม้ที่เป็นไปในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ทั้งหลาย เพราะเหตุไร คำว่า ทุกข์ ... คำว่า โรค ... คำว่า ฝี ... คำว่า ลูกศร ... คำว่า ความข้อง ... คำว่า เปือกตม ... คำว่า การอยู่ในครรภ์ ... นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ทั้งหลาย เพราะบุคคลนี้ยินดีในกามราคะ ถูกฉันทราคะผูกพันไว้ ย่อมไม่พ้นไปจาก ครรภ์แม้ที่เป็นไปในภพปัจจุบัน และไม่พ้นไปจากครรภ์แม้ที่เป็นไปในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ทุกข์ คำว่า การอยู่ในครรภ์ นี้ จึงเป็นชื่อของกามทั้งหลาย ปุถุชนตกต่ำด้วยราคะอันน่ายินดี ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์อีก เพราะกามเหล่าใด กามเหล่านี้เรียกว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี ลูกศร ความข้อง เปือกตม และการเกิดในครรภ์ แต่เมื่อใด ภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ละสัมปชัญญะ เมื่อนั้น ภิกษุผู้เป็นเช่นนั้นก็ล่วงกามเป็นดุจทางลื่น ที่ข้ามได้ยาก มองเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่๑- รวมความว่า คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจ ลูกศร และเป็นภัย คำว่า เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว อธิบายว่า เห็น คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งภัยนี้ในกามคุณ รวมความว่า เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า คำว่า กาม นี้ เป็นอันตราย เป็นดุจฝี เป็นอุปัทวะ เป็นโรค เป็นดุจลูกศร และเป็นภัย เราเห็นภัยนี้ในกามคุณแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๕๖/๒๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๔๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๔๕-๔๔๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=445&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=12873 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=12873#p445 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๔๕-๔๔๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]