ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๖๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ฉลาดในธรรมทั้งปวง อธิบายว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าฉลาดในธรรมทั้งปวง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดุจหัวฝี .... เป็นดุจลูกศร ... เป็นของลำบาก .... เป็นอาพาธ ... เป็นอย่างอื่น (บังคับไม่ได้) ... เป็นของทรุดโทรม ... เป็นเสนียด ... เป็น อุปัททวะ... เป็นของไม่น่ายินดี... เป็นภัย ... เป็นอุปสรรค ... เป็นของไม่น่าชอบใจ ... เป็นของหวั่นไหว ... เป็นของผุพัง ...เป็นของไม่ยั่งยืน ... เป็นของไม่มีที่ต้านทาน ... เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น ... เป็นของไม่มีที่พึ่ง ... เป็นของไม่มีที่อาศัย... เป็น ของว่าง... เป็นของเปล่า ... เป็นของสูญ ... เป็นอนัตตา ... เป็นของมีโทษ ... เป็นของแปรผันไปเป็นธรรมดา ... เป็นของไม่มีแก่นสาร ... เป็นเหตุแห่งความ ลำบาก ... เป็นดุจเพชฌฆาต ... เป็นของปราศจากความเจริญ ... เป็นของมีอาสวะ ... เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ... เป็นเหยื่อแห่งมาร ... มีชาติเป็นธรรมดา ... มีชราเป็นธรรมดา... มีพยาธิเป็นธรรมดา... มีมรณะเป็นธรรมดา ... มีโสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความ ทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ... มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ... เป็นเหตุเกิดทุกข์ ... ตั้งอยู่ไม่ได้ ... หาความแช่มชื่นไม่ได้... เป็นโทษ ... เป็นของที่ต้องสลัดออกไป ชื่อว่าฉลาดในธรรมทั้งปวง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ชื่อว่าฉลาดในธรรมทั้งปวง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง อายตนะ ๑๒ ตรัสเรียกว่า ธรรมทั้งปวง คือ ตาและรูป หูและเสียง จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ ใจและธรรมารมณ์ ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในอายตนะภายในและภายนอก ภิกษุละความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจในอายตนะภายในและภายนอกได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๖๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๖๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=69&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=1979 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=1979#p69 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]