ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๗๓-๘๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

๒. ติสสเมตเตยยมาณวปัญหานิทเทส๑-
ว่าด้วยปัญหาของติสสเมตเตยยมาณพ
[๙] (ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้) ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้ ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ (๑) คำว่า ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้ อธิบายว่า ใครยินดี สันโดษ คือพอใจ มีความดำริบริบูรณ์แล้วในโลก รวมความว่า ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้ คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็น คำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง คำว่า ติสสะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตร เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกันสำหรับพราหมณ์นั้น รวมความว่า ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้ คำว่า ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร อธิบายว่า ความหวั่นไหว เพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหว เพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะกาม ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หามิได้แก่ใคร @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๔๗-๑๐๔๙/๕๓๒-๕๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

ความหวั่นไหวทั้งหลาย ใครละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความหวั่นไหวทั้ง หลายย่อมไม่มีแก่ใคร คำว่า ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ได้แก่ ใครรู้ชัด คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งที่สุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว รวม ความว่า ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว คำว่า ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา อธิบายว่า ย่อมไม่ยึดติด คือ ไม่ ติดแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในท่ามกลางด้วยปัญญา มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่ยึดติดใน ท่ามกลางด้วยมันตา คำว่า พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ อธิบายว่า พระองค์ตรัสเรียก ใคร คือ ตรัสถึงใคร เข้าพระทัยใคร ทรงกล่าวถึงใคร เห็นใคร แถลงถึงใครว่า เป็นมหาบุรุษ คือ บุรุษผู้เลิศ บุรุษผู้ประเสริฐ บุรุษผู้วิเศษ บุรุษผู้เป็นหัวหน้า บุรุษผู้สูงสุด บุรุษผู้เป็นประธาน บุรุษผู้ยอดเยี่ยม รวมความว่า พระองค์ตรัส เรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ คำว่า ใครล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ อธิบายว่า ใคร่ล่วงพ้น คือ ล่วง ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงเลยเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ รวมความว่า ใครล่วงพ้น เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านติสสเมตเตยยะทูลถาม ดังนี้) ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษในโลกนี้ ความหวั่นไหวทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ใคร ใครรู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

[๑๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตเตยยะ) ภิกษุเป็นผู้มีพรหมจรรย์(เพราะเห็นโทษ)ในกามทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ผู้คลายตัณหาแล้ว มีสติทุกเมื่อ รู้ธรรมทั้งหลายแล้วดับกิเลสได้ ภิกษุนั้นชื่อว่าไม่มีความหวั่นไหว (๒) คำว่า ภิกษุเป็นผู้มีพรหมจรรย์ (เพราะเห็นโทษ) ในกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑-
ว่าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่าพรหมจรรย์
คำว่า เป็นผู้มีพรหมจรรย์ อธิบายว่า การงด งดเว้น เว้นขาด เจตนางดเว้น กิริยาที่ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ละเมิด การไม่ก้าวล่วงแดนแห่งการเข้าถึงอสัทธรรม ตรัสเรียกว่า พรหมจรรย์ อีกนัยหนึ่ง กล่าวโดยตรง อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ตรัสเรียกว่า พรหมจรรย์ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

ภิกษุใด เป็นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ภิกษุนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้มีพรหมจรรย์ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยทรัพย์เรียกว่า ผู้มีทรัพย์ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย โภคะเรียกว่า ผู้มีโภคะ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยยศเรียกว่า ผู้มียศ บุคคลผู้เพียบ พร้อมด้วยศิลปะ เรียกว่า ผู้มีศิลปะ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยศีลเรียกว่า ผู้มีศีล บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความเพียรเรียกว่า ผู้มีความเพียร บุคคลผู้เพียบพร้อม ด้วยปัญญาเรียกว่า ผู้มีปัญญา บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาเรียกว่า ผู้มีวิชชา ฉันใด ภิกษุใด เป็นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ภิกษุนั้น ตรัสเรียกว่า เป็นผู้มีพรหมจรรย์ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เป็นผู้มีพรหมจรรย์ (เพราะ เห็นโทษ) ในกามทั้งหลาย คำว่า เมตเตยยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตร คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ เป็นสัจฉิกา- บัญญัติ๑- รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตเตยยะ คำว่า ตัณหา ในคำว่า ผู้คลายตัณหาแล้ว มีสติทุกเมื่อ ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ตัณหานั้นผู้ใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้คลายตัณหาแล้ว คือ ผู้สละตัณหาแล้ว คลายตัณหาแล้ว ปล่อยตัณหาแล้ว ละตัณหาแล้ว สลัดทิ้งตัณหาแล้ว ได้แก่ คลายราคะแล้ว สละราคะแล้ว คลายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว คือ เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอัน ประเสริฐเสวยสุขอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน ตลอดกาลสืบเนื่องกัน ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตลอดกาลสืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาล ก่อนภัต หลังภัต ตลอดปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า ผู้คลายตัณหาแล้ว มีสติทุกเมื่อ คำว่า ภิกษุ ... รู้ธรรมทั้งหลายแล้วดับกิเลสได้ อธิบายว่า ญาณ ท่าน เรียกว่า สังขา (เครื่องพิจารณา) ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- คำว่า รู้ ... แล้ว อธิบายว่า รู้แล้ว คือทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” รู้แล้ว คือทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้ แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

อีกนัยหนึ่ง รู้แล้ว คือทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้ กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นทุกข์ ฯลฯ เป็นโรค ฯลฯ เป็นดุจหัวฝี ฯลฯ เป็นดุจลูกศร ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป๑- คำว่า ดับกิเลสได้ อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้ เพราะทำราคะให้ดับไป ชื่อว่าดับกิเลสได้ เพราะทำโทสะให้ดับไป ชื่อว่าดับกิเลสได้ เพราะทำโมหะให้ดับไป ชื่อว่าดับกิเลสได้ เพราะทำโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทุกชนิด ฯลฯ ทุจริตทุกทาง ฯลฯ ความกระวนกระวายทุกอย่าง ฯลฯ ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทให้ดับไป คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการได้แล้ว ฯลฯ อยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นภพใหม่แล้ว ผู้นั้นชื่อว่าภิกษุ๒- รวมความว่า ภิกษุ ... รู้ ธรรมทั้งหลายแล้วดับกิเลสได้ คำว่า ภิกษุนั้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่าไม่มีความหวั่นไหว ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ความหวั่นไหว อธิบายว่า ความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหว เพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหว เพราะกาม ความหวั่นไหวเหล่านั้นไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หามิได้แก่ภิกษุนั้น ความหวั่นไหวทั้งหลาย ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่าไม่มี ความหวั่นไหว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๙ @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๑-๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เมตเตยยะ) ภิกษุเป็นผู้มีพรหมจรรย์(เพราะเห็นโทษ)ในกามทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ผู้คลายตัณหาแล้ว มีสติทุกเมื่อ รู้ธรรมทั้งหลายแล้วดับกิเลสได้ ภิกษุนั้นชื่อว่าไม่มีความหวั่นไหว [๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบอีกว่า) ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา เราเรียกภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ภิกษุนั้นชื่อว่าล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ (๓) คำว่า ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลาง ด้วยมันตา อธิบายว่า คำว่า ส่วนสุด ได้แก่ ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ผัสสสมุทัยเป็นส่วนสุดอีก ด้านหนึ่ง ผัสสนิโรธอยู่ท่ามกลาง อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ท่ามกลาง สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง อทุกขม- สุขเวทนาอยู่ท่ามกลาง นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณอยู่ท่ามกลาง อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วน สุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณอยู่ท่ามกลาง สักกายะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง สักกายสมุทัยเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง สักกาย- นิโรธอยู่ท่ามกลาง ปัญญา ตรัสเรียกว่า มันตา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความ ไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

ว่าด้วยความยึดติด ๒
คำว่า ความยึดติด ได้แก่ ความยึดติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดติด ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ความยึดติดด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือว่าเป็นของเราด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณ เท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่า เป็นของเรา ด้วยอำนาจตัณหา ซึ่งจำแนกได้ ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วย อำนาจตัณหา ความยึดติดด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ๑- ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ๒- ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ๓- ๑๐ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยน @เชิงอรรถ : @ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ (๑) ย่อมตามเห็นรูปเป็นอัตตา (๒) เห็นอัตตามีรูป (๓) @เห็นรูปในอัตตา (๔) เห็นอัตตาในรูป (๕) ย่อมตามเห็นเวทนาเป็นอัตตา (๖) เห็นอัตตามีเวทนา (๗) @เห็นเวทนาในอัตตา (๘) เห็นอัตตาในเวทนา (๙) ย่อมตามเห็นสัญญาเป็นอัตตา (๑๐) เห็นอัตตามีสัญญา @(๑๑) เห็นสัญญาในอัตตา (๑๒) เห็นอัตตาในสัญญา (๑๓) ย่อมตามเห็นสังขารเป็นอัตตา (๑๔) @เห็นอัตตามีสังขาร (๑๕) เห็นสังขารในอัตตา (๑๖) เห็นอัตตาในสังขาร (๑๗) ย่อมตามเห็นวิญญาณ @เป็นอัตตา (๑๘) เห็นอัตตามีวิญญาณ (๑๙) เห็นวิญญาณในอัตตา (๒๐) เห็นอัตตาในวิญญาณ @(สํ.ข. ๑๗/๑๕๕/๑๔๙, ขุ.ม.อ. ๑๒/๑๕๘) @ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ (๑) ทานที่ให้แล้วไม่มีผล (๒) การบูชาไม่มีผล (๓) การบวงสรวงไม่มีผล (๔) @กรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ไม่ดีไม่มีผล (๕) โลกนี้ไม่มี (๖) โลกหน้าไม่มี (๗) มารดาไม่มี (๘) บิดาไม่มี @(๙) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี (๑๐) สมณพราหมณ์ที่ดำเนินอัตตาชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งใน @โลกนี้และโลกหน้าด้วยอัตตาเอง แล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบไม่มี (ดูรายละเอียดข้อ ๑๔๓/๔๕๙-๔๖๐) @ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือเห็นว่า @(๑) โลกเที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน @(๖) ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่าง (๗) หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายไปตถาคตไม่เกิดอีก @(๙) หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีกก็ใช่ ไม่เกิดอีกก็ใช่ (๑๐) หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ @ไม่เกิดอีกก็มิใช่ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๓/๒๑๗-๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๘๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

หนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ ไม่เป็นความจริงว่าเป็นจริงเห็นปานนี้ จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าความยึดติดด้วย อำนาจทิฏฐิ คำว่า ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลาง ด้วยมันตา อธิบายว่า ภิกษุนั้นรู้ชัดแล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ และท่ามกลางแล้วด้วยปัญญา ย่อมไม่ยึดติด คือ ไม่เข้าไปยึดติด ได้แก่ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด ออกแล้ว สลัดออกแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากความยึดติด) อยู่ รวมความว่า ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลาง ด้วยมันตา คำว่า เราเรียกภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ อธิบายว่า เราเรียกภิกษุนั้น คือ กล่าวถึง เข้าใจ พูดถึง แสดงถึง แถลงถึงภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ คือเป็นบุรุษผู้เลิศ บุรุษผู้ประเสริฐสุด บุรุษผู้วิเศษ บุรุษผู้เป็นประธาน บุรุษผู้เป็นหัวหน้า บุรุษผู้สูงสุด บุรุษผู้ยอดเยี่ยม ท่านพระสารีบุตรกราบทูลคำนี้กับพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสเรียกว่า มหาบุรุษ มหาบุรุษ เพราะเหตุอะไรหนอ บุคคลจึงเป็น มหาบุรุษ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราเรียกว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะเขาเป็นผู้มี จิตหลุดพ้นแล้ว เราไม่เรียกว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะเขาเป็นผู้มีจิตยังไม่หลุดพ้น บุคคลมีจิตหลุดพ้นแล้ว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียรเผากิเลส มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๘๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๒. ติสสเมตเตยมาณวปัญหานิทเทส

จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุเป็นผู้มีจิต หลุดพ้นแล้วเป็นอย่างนี้แล เราเรียกว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะเขาเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว เราไม่เรียกว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะเขาเป็นผู้มีจิตยังไม่หลุดพ้น๑- รวมความว่า เรา เรียกภิกษุนั้นว่า เป็นมหาบุรุษ คำว่า ภิกษุนั้นชื่อว่าล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องร้อยรัด ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ เครื่องร้อยรัดนี้ ภิกษุใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่า ล่วงพ้น คือ ล่วง ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงเลยเครื่องร้อยรัดได้ รวมความว่า ภิกษุนั้นชื่อว่าล่วง พ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้ชัดส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา เราเรียกภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ภิกษุนั้นชื่อว่าล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ พร้อมกับการจบคาถา ธรรมจักษุไร้ธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ได้เกิดขึ้น แก่เหล่าเทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะ ความพยายาม ความประสงค์ การอบรมบุญญาบารมีร่วมกันกับพราหมณ์ จิตของพราหมณ์นั้นก็หลุดพ้นจาก อาสวะเพราะไม่ถือมั่น หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้ำ ผมและ หนวดของติสสเมตเตยยพราหมณ์ก็หายไป พร้อมกับการบรรลุอรหัตตผล ท่าน เป็นภิกษุ มีศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร เพื่อการ ปฏิบัติเอื้อประโยชน์ จึงประคองอัญชลี นั่งลงนมัสการพระผู้มีพระภาคโดยประกาศ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ เป็นสาวก”
ติสสเมตเตยยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ สํ.ม. ๑๙/๓๗๗/๑๓๗-๑๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๘๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๗๓-๘๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=73&pages=10&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=2101 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=2101#p73 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๓-๘๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]