ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส

๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสมสีสัฏฐญาณ
[๘๗] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบ และดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)๑- เป็นอย่างไร คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาด โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจกุกกุจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉา ขาดโดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาด โดยชอบด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวง ขาดโดยชอบด้วยอรหัตตมรรค คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้ ด้วยอวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้ ด้วยปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน วิจิกิจฉา ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติย่อมไม่ ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค กิเลส ทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ @เชิงอรรถ : @ คำแปลของแต่ละญาณมีปรากฏอยู่ในภาคอุทเทสหรือมาติกาหน้า ๔ โดยทั่วไปจะไม่นำมาไว้ในภาคนิทเทสนี้ @นอกจากคำแปลของญาณที่ท่านอธิบายไว้ด้วย จึงจะนำมา เช่น คำแปลของญาณนี้คือคำว่า สงบ และเป็น @ประธาน ท่านอธิบายไว้ด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๔๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส

คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถานชื่อว่า สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌานชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ ได้แก่ ๑. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน ๒. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน ๓. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน ๔. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๕. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๖. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน ๗. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน ๘. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน ๙. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑๐. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน ๑๑. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน ๑๒. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน ๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาด โดยชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ
สมสีสัฏฐญาณนิทเทสที่ ๓๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๔๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=146&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=4245 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=4245#p146 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]