ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๒๖๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

[๑๖๘] ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม หายใจเข้าหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้งธรรม อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ทั้งหลาย ประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้ง ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย ประชุมลงอย่างไร คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้ สมาธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลง เพราะมี สภาวะเห็น บุคคลนี้๑- ให้อินทรีย์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง” คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร แห่งธรรมนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความ สงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น ประโยชน์ คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่ ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” คำว่า ให้พละทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้พละทั้งหลายประชุมลง อย่างไร @เชิงอรรถ : @ บุคคลนี้ หมายถึงพระโยคาวจรผู้ประกอบอานาปานสติภาวนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๘/๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๒๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=261&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=7615 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=7615#p261 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๖๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]