ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังพยาบาท เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด อย่างนี้ (๒)
(๓) อธิมัตตัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะมีประมาณยิ่ง
[๒๐๑] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เป็นอย่างไร คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึง เกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์ จึงมีประมาณยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

จิตตั้งมั่นอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่างๆ ด้วยอำนาจ ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมี ประมาณยิ่ง เพราะหลีกออกแล้ว ฉะนั้น บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจ ความสละ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ ๑. ความสละด้วยการบริจาค ๒. ความสละด้วยความแล่นไป ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ ความดับมี ๒ ประการนี้ เพราะละความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะ ความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิ ฉันทะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

จึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่หยาบ ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่ละเอียด ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสทั้งปวง ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะเจริญวิริยินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความเกียจคร้าน ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะเจริญสตินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความประมาท ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะเจริญสมาธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละอุทธัจจะ ฉันทะจึง เกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะเจริญปัญญินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์ จึงมีประมาณยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

จิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตที่ประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่างๆ ด้วยอำนาจ ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมี ประมาณยิ่ง เพราะหลีกออกแล้ว บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจความสละ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ ๑. ความสละด้วยการบริจาค ๒. ความสละด้วยความแล่นไป ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ ความดับมี ๒ ประการนี้ พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่งอย่างนี้
ทุติยภาณวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=326&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=9505 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=9505#p326 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]