ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๓๓-๓๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ธรรม ๕ อย่างที่ควรละ คือ นิวรณ์ ๕ ธรรม ๖ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๖ ธรรม ๗ อย่างที่ควรละ คือ อนุสัย ๗ ธรรม ๘ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๘ ๑- ธรรม ๙ อย่างที่ควรละ คือ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ ๒- ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๑๐ ๓- [๒๔] ปหานะ ๒ คือ ๑. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด) ๒. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ) สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรคและปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปหานะ ๓ คือ ๑. เนกขัมมปหานะ เป็นเครื่องสลัดออกจากกาม ๒. อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดออกจากรูปฌาน ๓. นิโรธ เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น บุคคลผู้ได้เนกขัมมะย่อมละและสละกามได้ บุคคลผู้ได้อรูปฌานย่อมละและ สละรูปได้ บุคคลผู้ได้นิโรธย่อมละและสละสังขารได้ @เชิงอรรถ : @ มิจฉัตตะ ๘ ได้แก่ (๑) มิจฉาทิฏฐิ (๒) มิจฉาสังกัปปะ (๓) มิจฉาวาจา (๔) มิจฉากัมมันตะ @(๕) มิจฉาอาชีวะ (๖) มิจฉาวายามะ (๗) มิจฉาสติ (๘) มิจฉาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๒๙) @ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ ได้แก่ (๑) ปริเยสนา (๒) ลาภะ (๓) วินิจฉยะ (๔) ฉันทราคะ @(๕) อัชโฌสานะ (๖) ปริคคหะ (๗) มัจฉริยะ (๘) อารักขกะ (๙) อารักขาธิกรณะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๐) @ มิจฉัตตะ ๑๐ ได้แก่ มิจฉัตตะ ๘ เพิ่มมิจฉาญาณและมิจฉาวิมุตติอีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ปหานะ ๔ คือ ๑. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้ ๒. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้ ๓. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้ ๔. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้ ปหานะ ๕ คือ ๑. วิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการข่มไว้) ๒. ตทังคปหานะ (การละด้วยองค์นั้นๆ) ๓. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด) ๔. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ) ๕. นิสสรณปหานะ (การละด้วยสลัดออกได้) การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฏฐิ- สังโยชน์ด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิซึ่งเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะ เป็นนิโรธ คือพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ สิ่งทั้งปวงที่ควรละ คืออะไร คือ จักขุควรละ รูปควรละ จักขุวิญญาณควรละ จักขุสัมผัสควรละ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ โสตะควรละ สัททะ ฯลฯ ฆานะควรละ คันธะ ฯลฯ ชิวหาควรละ รส ฯลฯ กายควรละ โผฏฐัพพะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

มโนควรละ ธรรมารมณ์ควรละ มโนวิญญาณควรละ มโนสัมผัสควรละ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรละ พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ(โดยความเป็น ของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็น ชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ เป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ ธรรมใดๆ ที่ละได้แล้ว ธรรมนั้นๆ เป็น อันละได้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ ควรละ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
ตติยภาณวาร จบ
[๒๕] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ ธรรม ๑ อย่างที่ควรเจริญ คือ กายคตาสติที่ประกอบด้วยความสำราญ ธรรม ๒ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓ ธรรม ๔ อย่างที่ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔ ธรรม ๕ อย่างที่ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕ ๑- ธรรม ๖ อย่างที่ควรเจริญ คือ อนุสสติฏฐาน (อนุสสติที่เป็นเหตุ) ๖ @เชิงอรรถ : @ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕ ได้แก่ ความแผ่ซ่านแห่งปีติ, ความแผ่ซ่านแห่งสุข, ความแผ่ซ่านแห่งจิต, @ความแผ่ซ่านแห่งแสงสว่าง, นิมิตคือการพิจารณา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๓-๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=33&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=942 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=942#p33 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓-๓๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]