ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๔๑-๔๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

[๒๘] อีกประการหนึ่ง ภาวนา ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง เดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม นั้นเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ ล่วงเลยกัน เป็นอย่างไร คือ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ธรรมทั้งหลายที่เกิด ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน เมื่อละพยาบาท (ความคิดร้าย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละถีนมิทธะ (ความหดหู่) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง ธัมมววัตถาน ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งญาณ ย่อม ไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอรติ (ความไม่ยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ย่อม ไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ย่อมไม่ ล่วงเลยกันและกัน ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ย่อมไม่ ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงเลยกัน และกัน ... เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน ย่อมไม่ ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรม ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน เมื่อพระโยคาวจรละรูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ปฏิฆสัญญา (ความหมาย รู้ความกระทบกระทั่งในใจ) นานัตตสัญญา (ความหมายรู้ภาวะต่างกัน) ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ ล่วงเลยกัน เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้อากาสานัญจายตนะ) ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา นั้นไม่ล่วงเลยกัน เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้วิญญาณัญจายตนะ) ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา (ความหมายรู้อากิญจัญญายตนะ) ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกัน และกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด ในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน เมื่อพระโยคาวจรละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน เมื่อละสุขสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นสุข) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง ทุกขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

เมื่อละอัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าอัตตา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ แห่งอนัตตานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละนันทิ (ความยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละราคะ (ความกำหนัด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละสมุทัย (เหตุเกิด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอาทานะ (ความยึดถือ) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคา- นุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละฆนสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นก้อน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ แห่งขยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอายุหนะ (กรรมเป็นเครื่องประมวลมา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ แห่งวยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละธุวสัญญา (ความหมายรู้ว่ามั่นคง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง วิปริณามานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละนิมิต (เครื่องหมาย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุ- ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละปณิธิ (ความตั้งมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุ- ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุ- ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิด ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะความหลง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิด ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละอัปปฏิสังขา (การไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง ปฏิสังขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ) ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วง เลยกัน เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งโสดา- ปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ หมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ... เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค ย่อมไม่ ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วย อำนาจแห่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่าง เดียวกันด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ หมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น เข้าไป เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง เนกขัมมะเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียร ที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป เมื่อละพยาบาทย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง อพยาบาทเข้าไป ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง อรหัตตมรรคเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความ เพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป อย่างนี้ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมปฏิบัติเนืองๆ ซึ่งเนกขัมมะ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ เมื่อละพยาบาท ย่อม ปฏิบัติเนืองๆ ซึ่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า ปฏิบัติเนืองๆ ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมปฏิบัติเนืองๆ ซึ่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ อย่างนี้ ภาวนา ๔ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าเจริญอยู่ เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ เมื่อเห็น จักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญอยู่ ธรรมใดๆ ที่ได้เจริญแล้ว ธรรมนั้นๆ มีรส เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
จตุตถภาณวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๑-๔๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=41&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=1166 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=1166#p41 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑-๔๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]