ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๔๖๐-๔๖๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๔. เมตตากถา

อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด ๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี ความเกิด ๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป ๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี ความเป็นไป ๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต ๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร ๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล”
โพชฌังคกถา จบ
๔. เมตตากถา
ว่าด้วยเมตตา
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๔. เมตตากถา

๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ ๘. จิตตั้งมั่นเร็ว ๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย ๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้๑- เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจง ก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจง ด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโต- วิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร คือ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง เมตตา- เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศ ทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ ๓. ขอภูตทั้งปวง ฯลฯ ๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ ๕. ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๔. เมตตากถา

เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ ๓. ขออารยชนทั้งปวง ฯลฯ ๔. ขออนารยชนทั้งปวง ฯลฯ ๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ ๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มี ทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ ๓. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ ๔. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ ๕. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ ๗. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ ๘. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ ๙. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ ๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ขอปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูตทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง ฯลฯ อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

                                                                 ๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร

๑. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ๒. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ ๓. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ ๔. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ ๕. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ ๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ ๘. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ ๙. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ ๑๐. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
๑. อินทริยวาร
วาระว่าด้วยอินทรีย์
[๒๓] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ ๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน ๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๖๐-๔๖๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=460&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=13475 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=13475#p460 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๖๐-๔๖๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]