ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๕๙๖-๕๙๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

                                                                 ๙. วิปัสสนากถา

ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วย สตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา นั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น อย่างเดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม นั้นเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล (๔)
สติปัฏฐานกถา จบ
๙. วิปัสสนากถา
ว่าด้วยวิปัสสนา
[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑- ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความ เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ๒- เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วย อนุโลมขันติจักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม๓- เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตต- นิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๑) @เชิงอรรถ : @ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ (เหตุ) และปฏิเสธโอกาส (ปัจจัย) ที่เป็นไปได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗, @องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗) @ สัมมัตตนิยาม หมายถึงโลกุตตรมรรค โดยวิเศษก็คือโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

                                                                 ๙. วิปัสสนากถา

เป็นไปได้๑- ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๒) เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความเป็นสุข จักเป็น ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๓) เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๔) เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอัตตา จัก เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๕) เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอนัตตา จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่ สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๖) เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้ แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๗) @เชิงอรรถ : @ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ (เหตุ) ที่เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

                                                                 ๙. วิปัสสนากถา

เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ ด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตต- นิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทา- คามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๘) [๓๗] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ อย่าง ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุเห็นเบญจขันธ์ ๑. โดยความไม่เที่ยง ๒. โดยความเป็นทุกข์ ๓. โดยความเป็นโรค ๔. โดยความเป็นดังหัวฝี ๕. โดยความเป็นดังลูกศร ๖. โดยเป็นความลำบาก ๗. โดยเป็นอาพาธ ๘. โดยเป็นอย่างอื่น ๙. โดยเป็นของชำรุด ๑๐. โดยเป็นอัปปมงคล ๑๑. โดยเป็นอันตราย ๑๒. โดยเป็นภัย ๑๓. โดยเป็นอุปสรรค ๑๔. โดยเป็นความหวั่นไหว ๑๕. โดยเป็นของผุพัง ๑๖. โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ๑๗. โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑๘. โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑๙. โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ๒๐. โดยเป็นความว่างเปล่า ๒๑. โดยความเปล่า ๒๒. โดยเป็นสุญญตะ (ความว่าง) ๒๓. โดยเป็นอนัตตา ๒๔. โดยเป็นโทษ ๒๕. โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ๒๖. โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๙๖-๕๙๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=596&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=17474 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=17474#p596 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๙๖-๕๙๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]