ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

หน้าที่ ๑๔๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. สุภูติวรรค]

                                                                 ๕. อันนสังสาวกเถราปทาน

๕. อันนสังสาวกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอันนสังสาวกเถระ
(พระอันนสังสาวกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๕๕] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ กำลังเสด็จไปในระหว่างร้านตลาด มีลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑- คล้ายแท่งทองคำ [๑๕๖] พระนามว่าสิทธัตถะ ดังดวงประทีปส่องโลกให้สว่างโชติช่วง ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ หาใครเปรียบเทียบมิได้ ทรงฝึกฝนพระองค์แล้ว ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ปีติอย่างยิ่ง @เชิงอรรถ : @ ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ คือ (๑) มีพระบาทราบเสมอกัน (๒) พื้นใต้พระบาททั้ง ๒ มีจักร @ปรากฏข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกงและดุม มีส่วนประกอบครบบริบูรณ์ทุกอย่าง (๓) ทรงมีส้นพระบาทยาว @(๔) มีองคุลียาว (๕) ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม (๖) ทรงมีลายดุจตาข่ายที่ฝ่าพระหัตถ์ @และฝ่าพระบาท (๗) ทรงมีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ (๘) ทรงมีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย (๙) เมื่อ @ประทับยืน ไม่ต้องทรงก้มก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุได้ด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒ ได้ (๑๐) ทรงมีพระคุยหฐาน @เร้นอยู่ในฝัก (๑๑) ทรงมีพระฉวีรรณงดงามดุจหุ้มด้วยทองคำ (๑๒) ทรงมีพระฉวีวรรณละเอียดจน @ละอองธุลีไม่เกาะติดพระวรกาย (๑๓) ทรงมีพระโลมชาติงอกเส้นเดียวในแต่ละขุม (๑๔) ทรงมีพระโลม @ชาติสีเข้มเหมือนดอกอัญชันขดเป็นลอนเวียนขวามีปลายตั้งขึ้น (๑๕) ทรงมีพระวรกายตรงดุจกายพรหม @(๑๖) ทรง มีพระมังสะพูนเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสะทั้ง ๒ @และ ลำพระศอ) (๑๗) ทรงมีส่วนพระวรกายบริบูรณ์ดุจกึ่งกายท่อนหน้าของพญาราชสีห์ (๑๘) ทรงมี @พระปฤษฎางค์เต็มเรียบเสมอกัน (๑๙) ทรงมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลต้นไทร พระกายสูง @เท่ากับวาของพระองค์ (๒๐) ทรงมีพระศอกลมงามเต็มเสมอ (๒๑) ทรงมีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระ @กระยาหารได้อย่างดี (๒๒) ทรงมีพระหนุดุจคางราชสีห์ (๒๓) ทรงมีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (๒๔) ทรงมีพระทนต์ @เรียบเสมอกัน (๒๕) ทรงมีพระทนต์ไม่ห่างกัน (๒๖) ทรงมีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม (๒๗) ทรงมีพระทนต์ @เรียบเสมอกัน (๒๘) ทรงมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก (๒๙) ทรงมีพระเนตร @ดำสนิท (๓๐) ทรงมีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจลูกโคเพิ่งคลอด (๓๑) ทรงมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง @สีขาวอ่อนเหมือนนุ่น (๓๒) ทรงมีพระเศียรงดงามดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ @(ที.ปา. ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๒๓-๑๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๑๔๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๑๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=32&page=142&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=32&A=4110 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=32&A=4110#p142 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 32 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_32 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32 https://84000.org/tipitaka/english/?index_32



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]